กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10469
ชื่อเรื่อง: | ชุดการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์วิชาหลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมเรื่องการวิเคราะห์ระบบงาน สำหรับนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Computer-based learning packages via computer network on the topic of systems analysis in design and development software course for higher vocational certificate students in Southern Vocational Institute under the Office of Vocational Education |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ทิพย์เกสร บุญอำไพ หทัยรัตน์ มีพฤกษ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วิสุทธิ์ สุนทรกนกพงศ์ อภิรดี ประดิษฐสุวรรณ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ การเรียนการสอนผ่านเว็บ การวิเคราะห์ระบบ นักศึกษาอาชีวศึกษา--การศึกษาและการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิชาหลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรม เรื่อง การวิเคราะห์ระบบงาน สำหรับนักศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ อาชีวศึกษาให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักศึกษาที่ เรียนจากชุดการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อคุณภาพ จากชุดการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิชาหลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัย อาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ชั้นที่ปีที่ 2 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ (1) ชุดการเรียน ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิชาหลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรม เรื่องการวิเคราะห์ระบบงาน จำนวน 3 หน่วย ได้แก่ หน่วยที่ 15 เรื่องวัฏจักรการพัฒนาระบบ หน่วยที่ 16 เรื่องการกำหนดความ ต้องการของระบบ หน่วยที่ 17 เรื่องการออกแบบระบบและนำระบบไปใช้ (2) แบบทดสอบก่อน เรียนและหลังเรียน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล คือ ค่าประสิทธิภาพ E,/E, ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาทั้ง 3 หน่วย มีค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 คือ 78.60/80.70, 80.00/80.30, 79.30/79.70 ตามลำดับ (2) นักศึกษาที่เรียนจากชุดการเรียนผ่านเครือข่ายมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักศึกษามีความคิดเห็นต่อคุณภาพชุดการเรียนผ่านเครือข่าย คอมพิวเตอร์ในระดับเหมาะสมมาก |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10469 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.12 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License