กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10478
ชื่อเรื่อง: | ผลการฝึกเพื่อพัฒนาความเชื่อในการคาดการณ์สาเหตุและผลจากการกระทำของตน ของนักเรียนวัยรุ่นที่มีจิตลักษณะแตกต่างกันด้วยชุดกิจกรรมแนะแนว |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effects of training by a guidance activity packag for developing the belief in predicting causes and effects of one's behaviors of adolescent students with different psychological characteristics |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | โกศล มีคุณ ถนอม ผิวสว่าง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เจียรนัย ทรงชัยกุล |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว--วิทยานิพนธ์ นักเรียนวัยรุ่น ความเชื่อมั่นในตนเอง จิตวิทยาวัยรุ่น |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความเชื่อในการคาดการณ์สาเหตุ และผลจากการกระทำของตน ของนักเรียนวัยรุ่น ที่ได้รับการฝึกด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนา ความเชื่อในการคาดการณ์สาเหตุและผลจากการกระทำของตน กับไม่ได้รับการฝึกด้วยชุดกิจกรรม แนะแนวเพื่อพัฒนาความเชื่อในการคาดการณ์สาเหตุและผลจากการกระทำของตน (2) หาประเภท ของนักเรียนวัยรุ่นที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการฝึกด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความเชื่อ ในการคาดการณ์สาเหตุและผลจากการกระทำของตน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนวัยรุ่นชายและหญิง ที่มีอายุในช่วง 10-13 ปี ที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2550 ของโรงเรียนบ้านหัวฝาย จังหวัดอุดรธานี จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แบบวัดลักษณะ ทางชีวสังคม และแบบวัดจิตลักษณะ จำนวน 5 ฉบับ มีค่าความเที่ยงตั้งแต่ .72 ถึง .88 (2) ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความเชื่อในการคาดการณ์สาเหตุและผลจากการกระทำของตน จำนวน 1 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนม เตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนวัยรุ่นที่ได้รับการฝึกด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนา ความเชื่อในการคาดการณ์สาเหตุและผลจากการกระทำของตน มีความเชื่อในการคาดการณ์สาเหตุ และผลจากการกระทำของตนสูงกว่านักเรียนวัยรุ่นที่ไม่ได้รับการฝึกด้วยชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อ พัฒนาความเชื่อในการคาดการณ์สาเหตุและผลจากการกระทำของตน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (2) ในกลุ่มนักเรียนวัยรุ่นทั้งกลุ่มเพศชายและกลุ่มเพศหญิงผู้ได้รับการฝึกด้วยชุดกิจกรรม แนะแนวเพื่อพัฒนาความเชื่อในการคาดการณ์สาเหตุและผลจากการกระทำของตน มีความเชื่อในการ คาดการณ์สาเหตุและผลจากการกระทำของตนสูงกว่ากลุ่มนักเรียนวัยรุ่นเพศเดียวกันที่ไม่ได้รับการฝึก ดังกล่าว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นข้อค้นพบเพิ่มขึ้นจากในกลุ่มรวม |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนว))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10478 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.65 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License