กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10489
ชื่อเรื่อง: ความต้องการการส่งเสริมการผลิตพืชผักตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรจังหวัดสระบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension needs of vegetable production according to the good agricultural practices by farmers in Saraburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
แสงจันทร์ ลาสุดี, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ผลิตพืชผัก จังหวัดสระบุรี 2) สภาพการผลิตพืชผักและความรู้เกี่ยวกับการผลิตพืชผักตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 3) การผลิตพืชผักตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 4) การได้รับส่งเสริมและความต้องการการส่งเสริมการผลิตพืชผักตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 5) ปัญหาของเกษตรกรเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตพืชผักตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ประชากรในการวิจัยคือเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักในจังหวัดสระบุรี ที่ขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรปี 2562 จากระบบฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 775 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความคลาดเกลื่อน 0.08 ได้ตัวอย่าง 130 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการผลิตพืชผักเฉลี่ย 14.42 ปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.99 คน มีรายได้ของครัวเรือน เกษตรกรเฉลี่ย 49,730.77 บาท/ปี รายจ่ายในการผลิตพืชผักเฉลี่ย 20,232.77 บาทปี 2) เกษตรกรในจังหวัดสระบุรีมีการปลูกกะเพรา มีพื้นที่ปลูกพืชผักเฉลี่ย 1.33 ไร่ ไม่ได้เพาะกล้าพันธุ์ก่อนปลูก มีระบบการให้น้ำแบบลากสายยางรด ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเดียว ใช้การป้องกันกำจัดศัตรูพืชในแปลงแบบวิธีผสมผสาน ควบคุมวัชพืชในแปลงพืชผักโดยการใช้มือถอนหรือจอบถาก จำหน่ายผลผลิตพืชผักเอง และเกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตพืชผักตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในระดับมากที่สุด 3) เกษตรกรผู้ผลิตพืชผักมีการปฏิบัติตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในระดับมาก 4) เกษตรกรผู้ผลิตพืชผักได้รับการส่งเสริมการผลิตพืชผักตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในระดับน้อยที่สุด และมีความต้องการการส่งเสริมการผลิตพืชผักตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในระดับมากที่สุด 5) ปัญหาของเกษตรเกี่ยวกับการส่งเสริมการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตพืชผัก ด้านเนื้อหาในประเด็นสุขลักษณะส่วนบุคคลมากที่สุด และปัญหาด้านวิธีการส่งเสริมการเกษตรประสบปัญหาวิธีการส่งเสริมแบบแบบบุคคลมากที่สุด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10489
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.89 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons