Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10514
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Other Titles: Factors relating participation in mobilization to the improvement of quality of life among District Health Board in Surat Thani Province
Authors: ธีระวุธ ธรรมกุล
บุญธรรม มิ่งแก้ว, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: คุณภาพชีวิต--ไทย--สุราษฎร์ธานี
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้และทัศนคติในการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิต (2) ระดับการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิต และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ และระดับการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอในจังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างคือคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 196 คน จากประชากรทั้งหมด 399 คน คำนวณขนาดตัวอย่างจากการเปิดตารางของเครจซึ่และมอร์แกน (1970) ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย โดยวิธีจับสลาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีค่าแอลฟ่าครอนบาคในส่วนของความรู้ ทัศนคติและการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิต มีค่าเท่ากับ 0.90, 0.89 และ 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 51-60 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี มีสถานภาพสมรส เป็นบุคลากรจากภาครัฐ มีรายได้ต่อเดือน มากกว่า 35,000 บาท มีระยะเวลาปฏิบัติหน้าที่เป็นคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิต 1-3 ปี และมีประสบการณ์การประชุม/อบรมเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านความรู้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านทัศนคติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ด้านการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ (3) ปัจจัยด้านการศึกษา สถานภาพสมรส และทัศนคติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอในจังหวัดสุราษฎร์ธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งปัจจัยทั้ง 3 ด้านดังกล่าวส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานฯ ร้อยละ 70.2
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10514
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.06 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons