กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10525
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครแรงงาน ในการให้บริการด้านแรงงานของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to the participation of labor volunteers in providing labor services in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธารินี ทิพยรัตน์, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
อาสาสมัครแรงงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครแรงงานในการให้บริการด้านแรงงานของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2) เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครแรงงานในการให้บริการด้านแรงงานของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครแรงงานในการให้บริการด้านแรงงานของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครแรงงานในการให้บริการด้านแรงงานของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ อาสาสมัครแรงงานของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 209 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรทาโร ยามาเน่ ได้จำนวน 38 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบโควตา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการอุปนัย และการจำแนกชนิดข้อมูลอย่างเป็นระบบ ผลการศึกษา พบว่า (1) ระดับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครแรงงานในการให้บริการด้านแรงงานของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) อาสาสมัครแรงงานที่มีอายุ การศึกษา และรายได้เฉลี่ยที่แตกต่างกัน มีระดับการมีส่วนร่วมในการให้บริการด้านแรงงานของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัจจัยด้านความรู้ ด้านความเข้าใจในบทบาทของอาสาสมัครแรงงาน ด้านการรับรู้ (การติดต่อสื่อสาร) ด้านความคาดหวัง และด้านแรงจูงใจ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครแรงงานในการให้บริการด้านแรงงานของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ (1) ปัญหาที่พบ คือ 1) อาสาสมัครแรงงานไม่เพียงพอต่อการให้บริการด้านแรงงน 2) ประชาชนไม่รู้จักอาสาสมัครแรงงาน และไม่ได้รับความร่วมมือจากชุมชน 3) ค่าตอบแทนของอาสาสมัครแรงงานไม่เพียงพอ และ 4) อาสาสมัครแรงงานขาดความรู้ความเข้าใจในการให้บริการด้านแรงงาน ส่วนแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครแรงงาน ได้แก่ 1) ควรเพิ่มจำนวนอาสาสมัครแรงงาน 2) ภาครัฐควรสนับสนุนบทบาทของอาสาสมัครแรงงานให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น 3) ควรเพิ่มเบี้ยเลี้ยงให้กับอาสาสมัครแรงงานนอกเหนือจากค่าตอบแทนที่ได้รับ และ 4) ควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ ความเข้าใจในการให้บริการด้านแรงงานแก่อาสาสมัครแรงงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10525
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons