กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10542
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาแบบจำลองธุรกิจเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพจากเห็ดเยื่อไผ่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Strategic business model development of healthy food from the bamboo mushroom (dictyophora indusiata) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ราณี อิสิชัยกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา กิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษา จุฬารัตน์ แสงอรุณ, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ การวางแผนธุรกิจ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ อาหารเพื่อสุขภาพ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวโน้มธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพจากเห็ดเยื่อไผ่ (2) ศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดผลิตภัณฑ์ใหม่และสร้างผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพจากเห็ดเยื่อไผ่ และ (3) พัฒนาแบบจำลองธุรกิจเชิงกลยุทธ์สำหรับธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพจากเห็ดเยื่อไผ่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดย 1) การวิจัยเชิงคุณภาพและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบด้วยการทบทวนวรรณกรรม การใช้แบบสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 12 ราย เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพจากเห็ดเยื่อไผ่ และการใช้แบบสัมภาษณ์ผู้ประกอบการที่เป็นกรณีศึกษา จำนวน 1 ราย 2) การวิจัยเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประกอบด้วยแบบสอบถามผู้บริโภคที่เคยรับประทานเห็ดเยื่อไผ่ จํานวน 399 ราย เพื่อศึกษาทัศนคติและการยอมรับแนวคิดผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพจากเห็ดเยื่อไผ่ และแบบสอบถามผู้บริโภคทั่วไป จำนวน 399 ราย เพื่อศึกษาความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพจากเห็ดเยื่อไผ่ 3) นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดไปประเมิน ทดสอบกับกรณีศึกษาและพัฒนาแบบจำลองธุรกิจเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพจากเห็ดเยื่อไผ่ ผลการวิจัยพบว่า (1) ตลาดอาหารเพื่อสุขภาพมีการเติบโตสูงขึ้น อาหารที่ผู้บริโภคให้ความนิยมคือ อาหารโปรตีนทางเลือกจากพืช และผู้บริโภคส่วนใหญ่คือกลุ่มมิลเลนเนียล และเบบี้บูมเมอร์ และตลาดอาหารเพื่อสุขภาพจากเห็ดเยื่อไผ่มีการเติบโตสูงขึ้น (2) ทัศนคติของผู้บริโภคอยู่ในระดับปานกลางผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพจากเห็ดเยื่อไผ่ที่วิเคราะห์ได้มี 4 ชนิด ได้แก่ เครื่องดื่มเห็ดเยื่อไผ่เข้มข้น เห็ดเยื่อไผ่นสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน ขนมขบเคี้ยวเห็ดเยื่อไผ่อบกรอบ และผงเห็ดเยื่อไผ่ชงดื่มสำเร็จรูป โดยผลิตภัณฑ์เห็ดเยื่อไผ่หุ้นสำเร็จรูปพร้อมรับประทานได้รับการยอมรับมากที่สุด และผู้บริโภคให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมการตลาดในระดับมาก และ (3) แบบจำลองธุรกิจที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ กลุ่มลูกค้าหลัก คุณค่าของสินค้าที่นำเสนอ ช่องทางการเข้าถึงสายสัมพันธ์ลูกค้า รูปแบบรายได้ ทรัพยากรหลัก กิจกรรมหลัก หุ้นส่วนหลัก และโครงสร้างต้นทุน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10542 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 26.38 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License