กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10557
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาบทบาทของกรมประชาสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2540 - 2562
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Direction of the department of public relation's role supporting the democracy in Thailand from 1997 - 2019
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์
ธันยวัฒน์ เจริญชัย, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
กรมประชาสัมพันธ์--การประชาสัมพันธ์
การพัฒนาประชาธิปไตย--ไทย
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของกรมประชาสัมพันธ์ในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทย (2) แนวทางพัฒนาบทบาทของกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทย การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์เจาะลึกเลือกสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้เชี่ยวชาญด้านการประชาสัมพันธ์ นักรัฐศาสตร์ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้แทนสื่อมวลชน และประชาชนผู้รับข่าวสาร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) บทบาทของกรมประชาสัมพันธ์ในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทยระหว่างปี 2540 - 2562 ประกอบด้วย 1. การเสนอข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนรับทราบ 2. เป็นช่องทางในการนำเสนอนโยบาย หรือโครงการต่าง ๆ ไปสู่การรับรู้ของประชาชน 3. การตรวจสอบรัฐบาล และสถาบันทางการเมืองทั้งหลายให้ดำเนินการตามบทบาท 4. การให้การศึกษาแก่ประชาชน 5. เปิดโอกาสต่อความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลาย ซึ่งมีความสำคัญต่อวิถีประชาธิปไตย โดยความสมบูรณ์ ทั้งนี้การทำหน้าที่ขึ้นอยู่กับทั้งปัจจัยภายในองค์กร ได้แก่ กรอบกฎหมาย จรรยาบรรณของสื่อ ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ การเมือง สภาพสังคม สถานการณ์บ้านเมือง (2) สำหรับแนวทางในการพัฒนาบทบาทของกรมประชาสัมพันธ์ ในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทยต้องฉีกแนวทางการนำเสนอให้ทันเหตุการณ์ต่างๆ ให้มีความน่าสนใจ มีความหลากหลาย ออกจากกรอบราชการได้บ้าง อาจศึกษารูปแบบการดำเนินงานสถานี BBC ในเรื่องการเป็นอิสระทางการเมือง และรูปแบบรายการที่น่าสนใจของ Thai PBS ในการเข้าถึงชุมชน รวมทั้งควรจะมีนโยบายที่ชัดเจน เพื่อสร้างความโดดเด่น เน้นการทำให้ส่วนกลางรับฟังประชาชนในภูมิภาคให้มากขึ้น สนับสนุนสร้างระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม สร้างการรับรู้ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย รวมพัฒนาช่องสื่อสารประชาสัมพันธ์นโยบายของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ทันสมัย เข้าถึงได้โดยง่าย ให้คนในท้องถิ่นรู้สึกเป็นเจ้าของสื่อมากขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10557
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.95 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons