กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10558
ชื่อเรื่อง: ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่องแรงที่กระทำต่อวัตถุ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Computer-based learning packages via network in the science learning area on the topic of force applied to objects for Mathayom Suksa I students in Lamphun Educational Service Area 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมพงษ์ แตงตาด, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธรรมรัตน์ พรหมพิงค์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --วิทยานิพนธ์
วิทยาศาสตร์--คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
แบบเรียนสำเร็จรูป
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่าน เครือข่าย กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่องแรงที่กระทำต่อวัตถุ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ใน เขตพื้นที่การศึกษาลำพูนเขต 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อศึกษาความก้าวหน้า ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายกลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์ เรื่องแรงที่กระทำต่อวัตถุ และ (3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยชุด การเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่องแรงที่กระทำต่อวัตถุ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนชุมชนบ้าน ป่าไผ่ เขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2 จำนวน 29 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่องแรง ที่กระทำต่อวัตถุ แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนแบบคู่ขนาน และแบบสอบถาม ความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E,/E2 ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายกลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์ เรื่องแรงที่กระทำต่อวัตถุ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 โดยทั้ง 3 หน่วย คือ หน่วย ที่ 8 หน่วยที่ 9 และหน่วยที่ 10 มีประสิทธิภาพ 80.00/81.00, 81.13/82.00 และ 80.25/82.00 ตามลำดับ (2) นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 และ (3) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อชุดการเรียนผ่านเครือข่ายว่าอยู่ในระดับเหมาะสมมาก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10558
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons