กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10574
ชื่อเรื่อง: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal problems relating to the People's Protection on the Entry into the Sale with Right of Redemption Contract for the Agricultural or Residential land
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิกรณ์ รักษ์ปวงชน, อาจารย์ที่ปรึกษา
อิทธิพัทธ์ ไพบูลย์, 2536-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
ที่ดิน--การจัดซื้อ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความหมาย ความเป็นมา แนวคิดและหลักการ เกี่ยวกับสัญญาขายฝาก (2) ศึกษาหลักเกณฑ์การคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย ตามกฎหมายของต่างประเทศและของประเทศไทย (3) วิเคราะห์ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย (4) เสนอแนวทางการแก้ไข สําหรับการพัฒนาปรับปรุงแก้ไข พระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2562 ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อไป การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาจากบทความทางวิชาการ ตำราวิชาการ วิทยานิพนธ์ทางกฎหมาย คำพิพากษา ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ และเว็บไซต์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงเอกสารทางวิชาการ แนวคิด หลักการ บทความทาง ผลการศึกษา พบว่า (1) สัญญาขายฝากเป็นการทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สิน โดยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากตกไปยังผู้รับซื้อฝากโดยทันที และต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ขายฝากด้วย โดยมีข้อตกลงว่าผู้ขายฝากสามารถไปเอาทรัพย์สินที่ขายฝากได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดกันไว้ ซึ่งประเทศไทยมีกฎหมายขายฝากมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา (2) สัญญาขายฝากของต่างประเทศส่วนใหญ่ทำได้ทั้งอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ ส่วนสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยของประเทศไทยใช้ได้เฉพาะของที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยเท่านั้น (3) กฎหมายขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย ของไทยมีปัญหาหลายประการ อาทิเช่น ปัญหาขอบเขตการบังคับใช้เฉพาะการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัยเท่านั้น ปัญหาระยะเวลาไถ่คืนทรัพย์สินที่กำหนดห้ามเกิน 10 ปัญหาการคิดดอกเบี้ยขายฝากในอัตราสูง ปัญหาไม่มีแบบสัญญาขายฝากกำหนดไว้เป็นสัญญามาตรฐาน ปัญหาค่าฤชาธรรมเนียมที่ผู้ขายฝากเป็นผู้ออกแต่เพียงผู้เดียว (4) ผู้ศึกษาจึงขอเสนอให้มีการแก้ไขชื่อพระราชบัญญัติฯ เป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรมขนาดย่อมหรือที่อยู่อาศัย โดยให้สัญญาขายฝากขั้นต่ำ 1 ปี แต่ไม่มีขั้นสูงกำหนดไว้ให้กำหนดอัตราดอกเบี้ยขายฝากได้ไม่เกินร้อย 7.5 ต่อปี ให้การขยายกำหนดเวลา ไม่ต้องทำหนังสือและจดทะเบียน ให้สัญญาขายฝากทำตามแบบสัญญาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และกำหนดให้สัญญาออกค่าฤชาธรรมเนียมคนละครึ่ง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10574
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons