Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1058
Title: รูปแบบและการพัฒนาการบริหารงานศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดหนองคาย
Other Titles: he model and management development of primary care units in Nongkhai province
Authors: สมโภช รติโอฬาร
รติวัน พิสัยพันธ์ 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คนองยุทธ กาญจนกูล
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ศูนย์สุขภาพชุมชนจังหวัดหนองคาย
การบริหารสาธารณสุข--ไทย--หนองคาย
Issue Date: 2546
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) รูปแบบการบริหารงานศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัด หนองคาย ตามแนวคิด 7-S ของแมคคินซีย์ (2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารสาธารณสุขและผู้บริหารศูนย์สุขภาพชุมชนต่อการพัฒนาการบริหารงานศูนย์สุขภาพชุมชน (3) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสาธารณสุขและผู้บริหารศูนย์สุขภาพชุมชนต่อการพัฒนาการบริหารงานศูนย์สุขภาพชุมชน (4) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค วิธีการแก้ไขปัญหาการบริหารงานศูนย์สุขภาพชุมชน (5) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานศูนย์สุขภาพชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสาธารณสุขและผู้บริหารศูนย์สุขภาพชุมชนในจังหวัดหนองคาย ประกอบด้วยผู้บริหารสาธารณสุขจํานวน 34 คน ผู้บริหารศูนย์สุขภาพชุมชน จำนวน 75 คน รวมทั้งสิ้น 109 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองโดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา สถิติทดสอบที (t-test) สถิติแบบแมนวิทนีย์ (Mann-Whitney Utest) ผลการวิจัย พบว่า (1) ศูนย์สุขภาพชุมชน มีการจัดโครงสร้างบริการชัดเจน โดยสายการบริการขึ้นตรงต่อหน่วยคู่สัญญาบริการปฐมภูมิ มีการจัดทำแผนปฏิบัติการ โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากแฟ้มประวัติครอบครัว งานตามนโยบาย ให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของหน่วยสัญญาบริการปฐมภูมิ ระบบการทำงานไม่มีความคล่องตัว ขาดงบประมาณในการดำเนินงาน ระบบข้อมูลขาดความต่อเนื่อง ขาดแคลนบุคลากรที่ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชน ผู้บริหารศูนย์สุขภาพชุมชนมีการร่วมดำเนินการและแก้ไขปัญหาร่วมกับผู้ปฏิบัติงาน และกำหนดค่านิยมร่วมกัน โดยสมาชิกภายในศูนย์สุขภาพชุมชน (2) ผู้บริหารสาธารณสุขและผู้บริหารศูนย์สุขภาพชุมชนมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาการบริหารงานศูนย์สุขภาพชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ผู้บริหาร สาธารณสุขและผู้บริหารศูนย์สุขภาพชุมชนมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาการบริหารงานศูนย์สุขภาพชุมชนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) โครงสร้างการบริหารงานศูนย์สุขภาพชุมชนไม่ชัดเจนการวางแผนมุ่งเน้นการดำเนินงานตามนโยบาย การจัดระบบงานไม่ชัดเจนขาดการบูรณาการงานร่วมกันของสถานีอนามัยเครือข่าย สัดส่วนบุคลากรสาธารณสุขต่อประชากร ไม่เป็นไปตามมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชนหัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนไม่มีบทบาทในการบริหารงาน บุคลากรขาดทักษะการทํางานเป็นทีมและขาดค่านิยมร่วมในการปฏิบัติงาน (5) ผู้บริหารต้องให้ความสําคัญและกําหนดเป็นนโยบายการพัฒนามาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชน จัดโครงสร้างบริหารศูนย์สุขภาพชุมชนให้ชัดเจน กระจายบุคลากรโดยใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ รวมทั้งมีการติดตามประเมินผลการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1058
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
82132.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.21 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons