กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10583
ชื่อเรื่อง: บทบาทของพนักงานอัยการกับการตรวจสอบในกระบวนการยุติธรรม : ศึกษาเฉพาะการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Roles of the public prosecutor and scrutiny in justice proceedings : specific case study of criminal proceedings against holders of political positions
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุพัตรา แผนวิชิต, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศรากร สวัสดิ์มงคล, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
อัยการ
นักการเมือง--คดีอาญา
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด วัตถุประสงค์ และหลักเกณฑ์ของการดําเนินคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง (2) ศึกษาแนวคิด วัตถุประสงค์ และหลักการการสั่งคดีของพนักงานอัยการของไทยและต่างประเทศ (3) ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาในการทําสํานวนคดีระหว่างอัยการสูงสุดและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (4) แก้ไขบทบัญญัติกฎหมายของอัยการสูงสุดเพื่อทําให้คดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองมีประสิทธิภาพ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยจากเอกสาร ซึ่งผู้ศึกษาได้ทําการรวบรวมข้อมูลจากหนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ ข้อมูลจากตําราและคําอธิบายต่างๆ หมายเหตุท้ายคําพิพากษาศาลฎีกาในคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง บทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เอกสารวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า (1) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติส่งสํานวนการไต่สวน อัยการสูงสุดต้องดําเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง อันเป็นหลักการดําเนินคดีตามกฎหมาย (2) การดําเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการตามหลักสากลรวมทั้งในประเทศไทยเป็นหลักการดําเนินคดีอาญาตามดุลพินิจที่พนักงานอัยการสามารถจะกลั่นกรองคดีอาญาก่อนขึ้นสู่ศาล (3) กฎหมายกําหนดให้อัยการสูงสุดฟ้องคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองเป็นหลัก แต่อัยการสูงสุดไม่มีอํานาจสอบสวนและไม่มีอํานาจใช้ดุลพินิจในการสั่งคดีและ (4) ผู้เขียนจึงขอเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายระดับพระราชบัญญัติโดยให้อัยการสูงสุดเข้ามามีส่วนร่วมในการไต่สวนกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตั้งแต่เริ่มกระบวนการทําสํานวน และสามารถใช้ดุลพินิจพิจารณาสั่งคดีตามฐานความผิดที่เห็นสมควร โดยมีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทําหน้าที่สอบสวนร่วมกับอัยการสูงสุดตรวจสอบถ่วงดุลอํานาจ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10583
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons