กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10593
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาคู่มือการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนตำบลทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of a Manual for Community-based Diabetes care in Sai Mun Sub-district, Phibun Mangsahan District, Ubon Ratchathani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมโภช รติโอฬาร
นิยม สินทรัพย์, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข--การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้ป่วยเบาหวาน--การดูแล--คู่มือ
การศึกษาอิสระ--บริหารสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการดูแลผู้ป่วยเบาหวานของ รพ.สต.ทรายมูล 2)พัฒนาคู่มือการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่เหมาะสมสำหรับชุมชนตำบลทรายมูล และ 3)ประเมินความพึงพอใจในการใช้คู่มือการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนตำบลทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี แบ่งการศึกษาเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาวิเคราะห์บริบทการดูแลผู้ป่วยเบาหวานของหน่วยบริการและชุมชน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาคู่มือการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนตำบลทรายมูล ขั้นตอน ที่ 3 การใช้คู่มือและประเมินความพึงพอใจในการใช้คู่มือ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างในการระดมสมองและพัฒนาคู่มือ จำนวน 15 คน ประกอบด้วย ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 3 คน ผู้ดูแล/ญาติผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 2 คน อสม. จำนวน 5 คน และบุคลากรสาธารณสุข จำนวน 5 คน และกลุ่มตัวอย่างในการใช้คู่มือและประเมินผลคู่มือ จำนวน 30 คน ประกอบด้วย ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 10 คน ผู้ดูแล/อสม. จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แนวทางการสนทนากลุ่ม คู่มือการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ดูแลหลักผู้ป่วยเบาหวาน อสม. ขาดความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ไม่มีคู่มือการปฏิบัติที่ชัดเจน 2) คู่มือการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน มี 3 ส่วน ได้แก่ 2.1) ข้อมูลทั่วไป ของผู้ป่วย แผนการรักษาพยาบาล 2.2) ทฤษฎี เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคเบาหวาน และ 2.3) บันทึกกิจกรรมผู้ป่วย บันทึกการเยี่ยมผู้ป่วย และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า หลังการใช้คู่มือ กลุ่มตัวอย่างพึงพอใจต่อคู่มือ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.63, S.D.=.51)
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10593
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
162201.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.95 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons