กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10612
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิดข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดฝักอ่อน อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guidelines of efficiency baby corn Production for farmer in Thamaka Distirct, Kanchanaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุติพร ผลทวีทรัพย์, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ข้าวโพด--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) กระบวนการผลิตและปัจจัยการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกร 3) ระดับความสาคัญของปัจจัยจูงใจในการทางานของเกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะการส่งเสริมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกร 5) การได้รับและความต้องการในรูปแบบและวิธีการส่งเสริมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศหญิง (เพศหญิงร้อยละ 56.5 และชายร้อยละ 43.5) 2) ส่วนมากผลิตแบบใช้สารเคมี ไม่ปรับปรุงบารุงดิน มีการเตรียมดินโดยการไถยกร่อง และใช้พันธุ์ลูกผสม ปลูกแบบแถวคู่ ระยะห่าง 50 × 50 เซนติเมตร จานวน 3 ต้นต่อหลุม ให้น้า 4 วันครั้งแบบปล่อยตามร่อง สูตรปุ๋ยที่ใช้มากที่สุดคือสูตร 46-0-0 3) เกษตรกรให้ความสาคัญกับปัจจัยจูงใจมากกว่าปัจจัยค้าจุนในการทางาน 4) เกษตรกรให้ความสาคัญมากกับปัญหาด้านการจัดการโรคและแมลงศัตรูพืช 5) เกษตรกรต้องการความรู้ระดับมาก 2 ประเด็น คือ โรคและแมลงศัตรูพืช การป้องกันกาจัด และการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน และต้องการช่องทางสื่อบุคคลที่เป็นข้าราชการ ผ่านคู่มือ อินเตอร์เน็ต โทรทัศน์ วิธีการส่งเสริมแบบการบรรยาย และการสาธิตมากที่สุด ข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดฝักอ่อน ได้แก่ (1) ให้ความรู้กับเกษตรกรในด้านการป้องกันและกาจัดแมลงศัตรูพืชโดยเฉพาะหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (2) ส่งเสริมกระบวนการผลิตที่ดีผ่านสื่อบุคคลที่เป็นข้าราชการ โดยใช้คู่มือ อินเตอร์เน็ต การบรรยายหรือสาธิต (3) ส่งเสริมสนับสนุนการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อลดต้นทุนการผลิต
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10612
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.23 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons