กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10629
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของคลอรีนและกรดเปอร์อะซิติกในการฆ่าเชื้อในน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Comparison of Efficacy of chlorine and peracetic acid in disinfection of wastewater treatment system effluent at a community hospital in Nonthaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรสวัสดิ์ ศรีสวัสดิ์
สุพัตรา พิมพา, 2537-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
น้ำเสีย--การบำบัด--การกำจัดคลอรีน
กรดเปอร์อะซิติก
การศึกษาอิสระ--การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประสิทธิภาพของคลอรีนและกรดเปอร์อะซิติกในการฆ่าเชื้อในน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาล และ (2) เปรียบเทียบความแตกต่างของประสิทธิภาพของคลอรีนและกรดเปอร์อะซิติกในการฆ่าเชื้อในน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาล การดำเนินการศึกษาในระบบบำบัดน้ำเสียจริงของโรงพยาบาล ได้แก่ (1) การเก็บตัวอย่าง ตัวอย่างน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วจากบ่อตกตะกอนของระบบบำบัดน้ำเสีย (2) ดำเนินการศึกษาประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อในน้ำทิ้งด้วยการเติมสารฆ่าเชื้อในขั้นตอนการฆ่าเชื้อของระบบบำบัดน้ำเสีย สารฆ่าเชื้อที่ใช้ในการศึกษาคือคลอรีนที่ระดับความเข้มข้น 33 มิลลิกรัมต่อลิตร เปรียบเทียบกับกรดเปอร์อะซีติกที่ระดับความเข้มข้น 5 มิลลิกรัมต่อลิตร (3) นำตัวอย่างน้ำเสียก่อนการฆ่าเชื้อและตัวอย่างน้ำทิ้งที่ผ่านระบบการฆ่าเชื้อแล้ว วิเคราะห์หาค่า สารแขวนลอย ความเป็นกรด-ด่าง บีโอดี โคลิฟอร์มแบคทีเรีย และฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรียการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิตินอนพาราเมตริก โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างใช้การทดสอบ แมนน์วิทนีย์ ยู ผลการวิจัยพบว่า (1) การฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียและเชื้อฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียได้ร้อยละ 40.63 และ 40.04 ตามลำาดับ การฆ่าเชื้อด้วยกรดเปอร์อะซิติกมีประสิทธิภาพการในการฆ่าเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียและเชื้อฟิคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียได้ร้อยละ 99.61 และ 99.96 ตามลำดับ และ (2) กรดเปอร์อะซีติกที่ระดับความเข้มข้นในน้ำเสียทิ้ง 5 มิลลิกรัมต่อลิตรมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียและเชื้อฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรียมากกว่าคลอรีนที่ระดับความเข้มข้นในน้ำทิ้ง 33 มิลลิกรัมต่อลิตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10629
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168965.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons