กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10646
ชื่อเรื่อง: | การดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Criminal proceedings with the persons holding political position and the public officers in accordance with anti-corruption law |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภาณินี กิจพ่อค้า พงศ์พันธุ์ พบสุวรรณ์, 2528- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี กระบวนการยุติธรรมทางอาญา การทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมือง นักการเมือง--คดีอาญา การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงความเป็นมา แนวคิดทฤษฎีในการดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาของประเทศไทยและของต่างประเทศ (3) วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา และ (4) นำผลจากการศึกษาดังกล่าวไปปรับใช้ให้เกิดความเหมาะสมในการดำเนินคดีอาญากับเจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสารโดยศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้แก่ กฎหมายอนุสัญญาและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดจนหนังสือความเห็นทางกฎหมายวิทยานิพนธ์สารนิพนธ์บทความต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผลการศึกษาพบว่า (1) การดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตมีความซ้ำซ้อน เนื่องจากเมื่ออัยการสูงสุดเห็นว่าสำนวนไต่สวนยังไม่สมบูรณ์คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและอัยการสูงสุดต้องตั้งคณะกรรมการร่วมกันเพื่อดำเนินการไต่สวนในข้อไม่สมบูรณ์ดังกล่าวอีกครั้ง (2) การดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในขั้นตอนการฟ้องคดีที่ไม่สอดคล้องกับหลักการของระบบไต่สวน เนื่องจากมีลักษณะแยกอำนาจหน้าที่การสอบสวนและการฟ้องคดีออกจากกัน (3) การฟ้องคดีอาญาตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเกิดปัญหาในการถ่วงดุลอำนาจ เนื่องจากให้อำนาจคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเป็นผู้ชี้ขาดว่าจะฟ้องคดีหรือไม่ในกรณีที่อัยการสูงสุดมีความเห็นไม่ฟ้องคดี และ (4) ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะแนวทางแก้ไข โดยกำหนดให้มีตัวแทนจากอัยการสูงสุดเข้าร่วมในการไต่สวนด้วย และควรให้ศาลอาญาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นผู้ชี้ขาดการฟ้องคดีดังกล่าว |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10646 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
161986.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 18.08 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License