กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10662
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคงอยู่ในงานของบุคลากรโรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to retention of personnel at Ban Pong Hospital in Ratchaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธีระชัย วงศ์เอกอักษร, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล --การศึกษาเฉพาะกรณี
บุคลากรโรงพยาบาล--ไทย--ราชบุรี
การทำงาน--แง่จิตวิทยา
การจูงใจในการทำงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารโรงพยาบาล
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การคงอยู่ในงานของบุคลากร (2) ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากร และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยแรงจูงใจในการทำงาน กับการคงอยู่ในงานของบุคลากรในโรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ประชากรคือบุคลากรทุกระดับที่สังกัดโรงพยาบาลบ้านโป่ง โดยมีระยะเวลาทำงานในโรงพยาบาลบ้านโป่งอย่างน้อย 1 ปี จำนวนทั้งสิ้น 741 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 349 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วนของประเภทบุคลากร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามในส่วนของแรงจูงใจในการทำงานและการคงอยู่ในงานเท่ากับ 0.827 และ 0.945 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) การคงอยู่ในงานโดยรวมอยู่ในระดับสูง (2) ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าบุคลากรกลุ่มที่มีสัดส่วนมากที่สุดได้แก่กลุ่มอายุ 41-50 ปี ระยะเวลาอยู่ในองค์กร 1-10 ปี ระดับรายได้ 10,001-20,000 บาทต่อเดือน มีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอบ้านโป่ง และเป็นบุคลากรประเภทกลุ่มวิชาชีพ ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับสูง และ (3) ระยะเวลาอยู่ในองค์กรเป็นปัจจัยส่วนบุคคลปัจจัยเดียวที่มีความสัมพันธ์กับระดับการคงอยู่ในงาน ส่วนแรงจูงใจในการทำงาน โดยรวมมีความสัมพันธ์ในระดับสูง (r=0.708) กับการคงอยู่ในงานของบุคลากรในโรงพยาบาลบ้านโป่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10662
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
161872.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.95 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons