กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10665
ชื่อเรื่อง: | การประเมินผลการรายงานค่าวิกฤตของกลุ่มงานเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยาคลินิก โรงพยาบาลแพร่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Evaluation of critical value reports of the Medical Technology and Clinical Pathology Department in Phrae Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นิตยา เพ็ญศิรินภา ภัทร จันทาพูน, 2533- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล--การศึกษาเฉพาะกรณี เทคนิคการแพทย์--การรายงาน--การประเมิน พยาธิวิทยา--การรายงาน--การประเมิน โรงพยาบาล--ไทย--แพร่ การศึกษาอิสระ--บริหารโรงพยาบาล |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินผลการรายงานค่าวิกฤตของกลุ่มงานเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยาคลินิก โรงพยาบาลแพร่ในด้านความครบถ้วน ถูกต้องและความรวดเร็ว (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างช่วงเวลาของการส่งตรวจ (เวรเช้า/เวรบ่าย/เวรดึก) กับความรวดเร็วในการรายงานค่าวิกฤต (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการทดสอบต่อรายกับความรวดเร็วในการรายงานค่าวิกฤต และ (4) ตรวจสอบความสัมพันธ์ของการรายงานค่าวิกฤตกับอาการวิกฤตของผู้ป่วยโดยผู้เชี่ยวชาญ ประชากรที่ศึกษาคือ บันทึกการรายงานค่าวิกฤต 810 ใบรายงาน ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2562 ถึง 30 เมษายน 2562 และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการรายงานและรับรายงานค่าวิกฤต โรงพยาบาลแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นบันทึกการรายงานค่าวิกฤต จำนวน 270 ใบรายงาน ได้จากการสุ่มอย่างมีระบบและกลุ่มตัวอย่างในการตรวจสอบความสัมพันธ์ของการรายงานค่าวิกฤตกับอาการวิกฤตของผู้ป่วยเลือกแบบเจาะจงประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้รับรายงานค่าวิกฤต ได้แก่ แพทย์และพยาบาล และกลุ่มผู้รายงานค่าวิกฤต ได้แก่ นักเทคนิคการแพทย์ จำนวน 10 คน โดยมีการสนทนากลุ่มในประเด็นใบรายงานที่ได้จากการสุ่มอย่างมีระบบ 27 ใบรายงาน คิดเป็นร้อยละ 10 ของใบรายงานที่ศึกษา เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกรายการและประเด็นสนทนากลุ่ม มีค่าความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ 0.85 และ 0.91 ตามลำดับ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัย พบว่า (1) การรายงานค่าวิกฤตมีความครบถ้วน และความถูกต้องทั้งหมด ส่วนความรวดเร็วในการรายงานค่าวิกฤต พบว่า ไม่เกินเวลา ร้อยละ 72.2 (2) ช่วงเวลาของการส่งตรวจกับความรวดเร็วในการรายงานค่าวิกฤตมีความสัมพันธ์กัน โดยพบว่าสัดส่วนของการรายงานค่าวิกฤตที่เกินเวลามากที่สุดคือ เวรดึก ร้อยละ 46.2 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (3) จำนวนการทดสอบต่อรายกับความรวดเร็วในการรายงานค่าวิกฤตมีความสัมพันธ์กัน โดยพบว่า สัดส่วนของการรายงานค่าวิกฤตที่เกินเวลาเมื่อมีมากกว่า 1 การทดสอบต่อรายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (4) การรายงานค่าวิกฤตมีความสัมพันธ์กับอาการวิกฤตของผู้ป่วยจากการสนทนากลุ่มโดยผู้เชี่ยวชาญ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10665 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
161871.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.58 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License