กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10667
ชื่อเรื่อง: | การนำมาตรการดักฟังมาใช้ในการไต่สวนคดีทุจริตของคณะกรรมการ ป.ป.ช. |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Wiretapping measures to be applied to NACC corruption investigation |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรรณวิภา เมืองถ้ำ ศรัทธา กอบกุลบุญศิริ, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี การดักฟังข้อมูลข่าวสาร การไต่สวนมูลฟ้อง การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับมาตรการดักฟังและการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน 2. ศึกษามาตรการดักฟังตามกฎหมายประเทศไทยและต่างประเทศ 3. วิเคราะห์ปัญหาการดำเนินคดีและรวบรวมพยานหลักฐานในการไต่สวนคดีทุจริตของคณะกรรมการ ป.ป.ช. 4. เสนอแนะแนวทางการนำมาตรการดักฟังมาใช้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการศึกษาวิจัยทางเอกสาร โดยการค้นคว้ารวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ตำรา บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ ระเบียบที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการดักฟังและการไต่สวนคดีทุจริต โดยเป็นเอกสารที่ค้นคว้าจากทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักและดำเนินการศึกษาเชิงวิเคราะห์ทางนิติศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า มาตรการดักฟังเป็นมาตรการพิเศษที่มีความสำคัญต่อการไต่สวนคดีทุจริตของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อให้สามารถรวบรวมพยานหลักฐานที่พิสูจน์ความผิดของถูกกล่าวหาได้อย่างรวดเร็ว และมีนํ้าหนักเพียงพอให้ศาลรับฟังได้ ที่จะนำไปสู่การลงโทษผู้ทุจริต แต่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ไม่ให้อำนาจคณะกรรมการ ป.ป.ช. และพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ป.ป.ช. ในการดักฟัง ในขณะที่กฎหมายในประเทศอื่น เช่น ยาเสพติด ค้ามนุษย์ องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ คดีพิเศษ ฟอกเงิน เป็นต้น ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ดักฟังได้ และเมื่อเปรียบเทียบมาตรการพิเศษของหน่วยงานต่อต้านการทุจริตในต่างประเทศ จากประเทศในกลุ่มเอเชียแปซิฟิกตามการแบ่งกลุ่มของ TI ปรากฏว่า เครือรัฐออสเตรเลีย และสหพันธรัฐมาเลเซียมีคะแนน CPI สูงและมีกฎหมายให้อำนาจหน่วยงานต่อต้านการทุจริตในการดักฟัง จึงควรมีการนำมาตรการดักฟังมาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อประโยชน์ในการต่อต้านการทุจริต |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10667 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
161864.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.18 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License