กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10669
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองโดยศาลปกครอง : ศึกษาเฉพาะกรณีคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problem on the Administrative Court’s review on administrative discretion: a case study of the appointment and removal orders to government officials
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มาลี สุรเชษฐ
ทัศนีย์ วรพงศ์พินิจ, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน --การศึกษาเฉพาะกรณี
ศาลปกครอง
ดุลยพินิจ
กระบวนการทางศาล
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้ทราบถึงแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลให้ทราบถึงประเภทคดีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลเฉพาะกรณี การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ศึกษาอำนาจศาลปกครองในการตรวจสอบการใช้อำนาจดุลพินิจ ของฝ่ายปกครองโดยเปรียบเทียบกับศาลปกครองฝรั่งเศสและศาลปกครองเยอรมัน ศึกษาวิเคราะห์แนว คำวินิจฉัยศาลปกครองสูงสุด กรณีคดีปกครองที่เกี่ยวกับคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ โดยเฉพาะการตรวจสอบอำนาจดุลพินิจของฝ่ายปกครอง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยจากเอกสาร การศึกษา จากบทบัญญัติของกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากตำรา ทางวิชาการ หนังสือ บทความ ข้อเขียนต่างๆ งานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ และค้นคว้าได้จากอินเตอร์เน็ท ตลอดจนแนวคำพิพากษา และคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า การฟ้องคดีในการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองเกี่ยวกับคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการได้ 2 ประเภท คือคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและการกระทำละเมิดอันเกิดจากคำสั่ง ตามมาตรา 9 วรรคหนี่ง (1) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 พบว่า ศาลปกครองไม่สามารถตรวจสอบกรณีผู้รับคำสั่งไม่ดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อนเสียหายก่อนฟ้องและไม่เข้าไปตรวจสอบกรณีโยกย้ายที่เป็นมาตรการภายใน จึงเสนอแนวทางแก้ไข ควรให้ได้เข้าไปตรวจสอบกรณีการโยกย้ายที่เป็นมาตรการภายใน เช่นเดียวกับศาลปกครองเยอรมัน และกำหนดให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนกำหนดหลักเกณฑ์การย้าย โดยกำหนดให้การย้ายมีสองประเภท คือ การโยกย้ายตามคำขอ และการโยกย้ายเพื่อประโยชน์ของทางราชการและกรณีนี้กำหนด หลักเกณฑ์ ว่า “การโยกย้ายเพื่อประโยชน์ของทางราชการห้ามมิให้ย้ายข้าราชการที่มีอายุราชการเหลือเพียง 1 ปี เว้นแต่ย้ายตามคำขอของข้าราชการผู้นั้น”
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10669
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
161069.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons