กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10671
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการปล่อยชั่วคราวระหว่างพิจารณาโดยใช้การควบคุมด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problem on using electronic monitoring for a provisional release
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สราวุธ ปิติยาศักดิ์
ศิริพร อึงไพเราะ, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
การปล่อยชั่วคราว--ไทย
การคุมประพฤติ--ไทย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประวัติความเป็นมาและแนวคิดการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจาเลยในคดีอาญาหลักเกณฑ์และรูปแบบการปล่อยชั่วคราว โดยการควบคุมด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลที่เป็นตำรากฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ วิทยานิพนธ์ บทความ วารสารสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์และจากการสัมภาษณ์ผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการปล่อยชั่วคราว เพื่อนำข้อมูลที่ค้นพบมาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย และหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป ผลจากการศึกษา พบว่า การปล่อยชั่วคราว โดยการใช้การควบคุมด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยยังมีข้อบกพร่องและยังไม่สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม เพราะบทบัญญัติของกฎหมาย หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติต่างๆ ยังขึ้นอยู่กับการเรียกประกันหรือหลักประกันเสมอ การปล่อยชั่วคราว โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จึงเกิดจากความยินยอมของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ต้องการแลกอิสรภาพกับความยากจนเท่านั้น จากการศึกษาผู้เขียนพบว่า ในการศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้ คือการพิจารณาตามหลักกฎหมายและข้อสันนิษฐานของกฎหมายที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้นยังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ ก่อนนำไปสู่การกำหนดว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้น ควรได้รับการปล่อยชั่วคราวด้วยวิธีการใด จึงจะมีความเหมาะสม ซึ่งการปล่อยชั่วคราวโดยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้นควรเป็นวิธีการสุดท้ายที่ศาลจะนำมาใช้กับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ต้องการขอปล่อยชั่วคราวระหว่างพิจารณาแต่ไม่สามารถหาหลักทรัพย์นั้นมาวางต่อศาลได้เท่านั้น แต่หากผู้ต้องหาหรือจำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้วหลบหนี ก็ควรได้รับการลงโทษอย่างเข้มงวด เพื่อเป็นการป้องปรามผู้ต้องหาหรือจำเลยมิให้มีการหลบหนีระหว่างปล่อยตัวชั่วคราว
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10671
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
161062.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons