กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10673
ชื่อเรื่อง: การเปิดรับ การรู้เท่าทันสื่อและผลกระทบจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Exposure, media literacy and the effect of social media among senior citizen in Lak si, Bangkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีรารักษ์ โพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กรรณุมา วรคุปต์, 2500-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์
คำสำคัญ: สื่อสังคมออนไลน์--ไทย--การศึกษาการใช้.
ผู้สูงอายุ
การศึกษาอิสระ--นิเทศศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุเขตหลักสี่กรุงเทพมหานคร 2) การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร และ 3) ผลกระทบจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุเขตหลักสี กรุงเทพมหานครการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตหลักสี่ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่ากรุงเทพมหานคร จำนวน 393 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) การเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุเขตหลักสี่กรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่นิยมใช้สื่อสังคมประเภทไลน์ (Line) มากที่สุด นิยมใช้บริการสื่อสังคมผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Smart Phone) ส่วนใหญ่ใช้บริการสื่อสังคมออนไลน์ที่ที่พักอาศัย มีความถี่ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ทุกวัน ใช้สื่อสังคมออนไลน์ครั้งละ 30 - 60 นาที ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อ คุยกับเพื่อนปัจจุบันเและเพื่อนเก่ามากที่สุด และมีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการสื่อสังคมออนไลน์เดือนละ 100 - 399 บาท 2) การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานครในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างมีทักษะการเข้าถึงโดยการแสวงหาข้อมูลข่าวสารที่ต้องการจากหลายแหล่ง เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ ได้มากที่สุด และ 3) ผลกระทบจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์มากที่สุดในแต่ละด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การใช้เงินเป็นค่าบริการโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ตจำนวนมาก ด้านสังคม ได้แก่ มีการสื่อสารกับคนในครอบครัวและคนรู้จักเพิ่มขึ้น ด้านอารมณ์และจิตใจ ได้แก่ ได้รับความบันเทิงและคลายความเครียดจากการดูหนัง ฟังเพลง คูกีฬา เล่นเกม และติดตามข้อมูลดาราหรือศิลปินที่ชื่นซอบ และ ด้านสุขภาพ ได้แก่ ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ด้านการดูแลสุขภาพ การรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ การป้องกันและรักษาโรค
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10673
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
161015.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.18 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons