กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10712
ชื่อเรื่อง: | การบังคับใช้กฎหมายภาษีมรดกและภาษีการให้ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Inheritance and gift taxation enforcement |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิกรณ์ รักษ์ปวงชน พันธุ์พงศ์ ปานพูล, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี ภาษีมรดก การศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะทั่วไป ความหมาย โครงสร้าง แนวคิดในการจัดเก็บ รูปแบบของการจัดเก็บรวมถึงมาตรการการจัดเก็บภาษีมรดกและ ภาษีการให้ของประเทศไทยและต่างประเทศ และ (2) นําความรู้ที่ได้ศึกษามาวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกบการจัดเก็บภาษีของประเทศไทยเปรียบเทียบกับประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีการรับมรดกและภาษีการ ให้ของประเทศไทยที่ใช้อยูในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้มากยิ่งขึ้น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสารจากเอกสาร ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ผู้ศึกษาได้ทําการรวบรวมข้อมูล ค้นคว้า และวิจัย จากหนังสือ ตํารา กฎหมาย บทความ วิทยานิพนธ์ รวมถึงการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต ด้วยวิธีการเขียนอธิบายและวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายภาษีมรดกและภาษีการให้ของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดในการจัดเก็บภาษีมรดกของประเทศไทยและต่างประเทศ โดยหลักมีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้ให้แก่รัฐและลดความเหลื่อมลํ้าในสังคม สําหรับรูปแบบการ จัดเก็บภาษีก็จะแตกต่างกันในแต่ละประเทศ โดยประเทศไทยและอังกฤษจัดเก็บภาษีจากการรับมรดก ส่วนสหรัฐอเมริกาจัดเก็บภาษีจากกองมรดกและ (2) ควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในเรื่องฐานภาษีที่ปัจจุบันจัดเก็บจากทรัพย์สินที่มีทะเบียน เป็นให้จัดเก็บจากทรัพย์สินทุกประเภท เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษี ควรจัดเก็บภาษีจากกองมรดก เพื่อความสะดวกและลดรายจ่ายในการบริหาร จัดเก็บ มูลค่าขั้นตํ่าของทรัพย์มรดกที่ได้รับยกเว้น ควรปรับลดลงเพื่อขยายฐานการจัดเก็บและอัตราภาษีที่ใช้อัตราคงที่ ควรจัดเก็บโดยใช้อัตราก้าวหน้า เพื่อให้เป็นไปตามหลักความสามารถในการเสียภาษี นอกจากนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมและลดผลกระทบการดําเนินธุรกิจ ควรกำหนดให้มีการยกเว้นการจัดเก็บภาษีสําหรับธุรกิจของครอบครัวหรือธุรกิจขนาดกลางและขนาดยอม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10712 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.33 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License