กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10717
ชื่อเรื่อง: ดุลพินิจและการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายปกครองศึกษากรณี : การเพิกถอนและจำหน่ายรายชื่อบุคคลออกจากทะเบียนบ้านของนายทะเบียนอำเภอตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Discretion and exercise of Discretion of government officers: a case study on revocation and suspension of names from house registration certificates by District Registrars under the Civil Registration Act,B.E. 2534
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุพัตรา แผนวิชิต
วิเศษ ผงนอก, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ดุลยพินิจ
ทะเบียนราษฎร์
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาให้ทราบถึงแนวความคิดหลักการที่เกี่ยวข้องในการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายปกครองในการกระทำทางปกครองเพื่อศึกษาให้ทราบถึงปัญหาอุปสรรคและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายปกครอง (นายทะเบียนอำเภอ) ในการกระทำทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอแนะแนวทางและมาตรการปฏิบัติงานประกอบการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายปกครอง (นายทะเบียนอำเภอ) ในการกระทำทางปกครองเพื่อให้เป็นไปตามขอบเขตและเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสารภาษาไทยและ ภาษาต่างประเทศ ผู้ศึกษาได้ทำการรวบรวมข้อมูล ค้นคว้า และวิจัย จากหนังสือ ตำรา กฎหมาย บทความ วิทยานิพนธ์ รวมถึงการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต ด้วยวิธีการเขียนอธิบายและวิเคราะห์ปัญหาในการใช้ดุลพินิจเพิกถอนและจำหน่าย รายชื่อบุคคลออกจากทะเบียนบ้าน ผลการศึกษาพบว่าเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายปกครอง (นายทะเบียนอำเภอ) ได้ใช้อำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานด้านการทะเบียนราษฎรตามกฎหมายพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 และระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2535 เจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายปกครอง (นายทะเบียนอำเภอ) ได้กระทำทางปกครองอันเป็น“ อำนาจดุลพินิจ” และ“ อำนาจผูกพัน” ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนใน 2 กรณีคือ 2.1) การเพิ่มชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน (ทร. 14) ซึ่งก่อใซึ่งก่อให้เกิดสิทธิและสถานะบุคคลตามกฎหมายซึ่งเกิดจากการใช้ดุลพินิจที่ไม่ถูกต้องและบิดเบือนข้อเท็จจริง 2.2) กรณีการเพิกถอนและจำหน่ายรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้าน (ทร. 14) อันเป็นการเพิกถอนสิทธิและสถานะบุคคลตามกฎหมายเพื่อระงับเหตุและยับยั้งความเสียหายที่กระทบต่อประชาชนและประโยชน์สาธารณะอันเป็นมูลเหตุแห่งข้อพิพาทควรมีการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎรกับกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนคนเกิดหรือทะเบียนตายงานทะเบียนราษฎรบุคคลสัญชาติไทยกับบุคคลต่างด้าวแยกไว้เฉพาะแต่ละฉบับต้องปรับปรุงและแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับการเพิ่มชื่อบุคคลในทะเบียนบ้าน (ท.ร. 14) แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 และระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2535 ให้ชัดเจนโดยเฉพาะต้องกำหนด“ ถ้อยคำ” หรือ“ ข้อความ” ในการใช้ดุลพินิจเป็นไปตามหลักแห่งความเหมาะสมหลักแห่งความจำเป็นและหลักแห่งความได้สัดส่วนตามแต่ละกรณีทั้งนี้ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายใกครอง (นายทะเบียนอำเภอ) ที่ถูกต้องและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10717
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons