กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10728
ชื่อเรื่อง: วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Organizational culture affecting the enhancement of teacher professional learning community of schools under Bangkok Primary Educational Service Area Office
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โสภนา สุดสมบูรณ์
นันทกัญ ชัยเวทยกุล, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ--ไทย--กรุงเทพฯ
วัฒนธรรมองค์การ
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) วัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร 2) การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูของสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับกรเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูของสถานศึกษา และ 4) วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 304 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การ ซึ่งประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การตัดสินใจและให้อำนาจบุคลากร การยอมรับและความไว้วางใจ ความมุ่งเป้าประสงค์ และผลลัพธ์ขององค์การร่วมกัน การทำงานเป็นทีม และการประสานความร่วมมือ ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ และการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .73, .88, .85, .79, .85, และ.95 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) วัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ ด้านการทำงานเป็นทีมและการประสานความร่วมมือ ด้านการตัดสินใจและให้อำนาจบุคลากร ด้านการยอมรับและความไว้วางใจ และด้านความมุ่งเป้าประสงค์และผลลัพธ์ขององค์การร่วมกัน 2) การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูของสถานศึกษาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วมกัน ด้านการสนับสนุนและการเป็นผู้นำร่วมกัน ด้านการเรียนรู้ร่วมกันและการประยุกต์ใช้การเรียนรู้ ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคคล และด้านการมีเงื่อนไขที่สนับสนุน 3) ทุกองค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์การกับการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูของสถานศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างสูงถึงระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) องค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูของสถานศึกษา เรียงตามลำดับ ดังนี้ ด้านการทำงานเป็นทีมและการประสานความร่วมมือ ด้านความมุ่งเป้าประสงค์และผลลัพธ์ขององค์การร่วมกัน ด้านความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร และด้านการตัดสินใจและให้อำนาจบุคลากร โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 81.60
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10728
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม24.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons