Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10731
Title: | การพัฒนาตนเองของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 |
Other Titles: | Self-development of teachers in schools under Suphan Buri Primary Educational Service Area Office 1 |
Authors: | เก็จกนก เอื้อวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา ปาจรีย์ มาตรวิจิตร, 2533- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี การพัฒนาตนเอง ครู--การพัฒนาตนเอง การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาตนเองของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1 2) เปรียบเทียบการพัฒนาตนเองของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1 ตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงานของครู และ 3 ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1 ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 291 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และศึกษานิเทศก์ รวม 5 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับการพัฒนาตนเองของครู มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 89 และแนวคำถามเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครู ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยปรากฎว่า 1) การพัฒนาตนเองของครูทั้งขั้นตอนและวิธีการพัฒนาตนเองของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) การพัฒนาตนเองตามขั้นตอนการพัฒนาและวิธีการพัฒนา จำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงานของครูไม่แตกต่างกัน และ 3) แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูในสถานศึกษา พบว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาควร(1) สำรวจความจำเป็นในการพัฒนาตนเองและความต้องการพัฒนาตนเองของครู เน้นให้ครูจัดทำแผนการพัฒนาตนเอง (2) สนับสนุนงบประมาณและอำนวยความสะดวกในการพัฒนาตนเองของครู(3) มีการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการพัฒนาตนเองของครูอย่างเข้มแข็ง (4) สร้างสื่อ นวัตกรรมใหม่ ๆ สนับสนุนให้ครูเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัย และ (5) ยกย่องและให้รางวัลเพื่อเสริมสร้างขวัญกำลังใจในการพัฒนาตนเองของครู |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10731 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License