กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1073
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และความพึงพอใจในงานกับความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดหนองคาย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationships between personal factors and job satisfaction and job performance of professional nurses in primary care unit of Nongkhai province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมโภช รติโอฬาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลดาวัลย์ รุจเศรณี, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
พยาบาลวิชาชีพ--ไทย--หนองคาย
พยาบาลวิชาชีพ--ความพอใจในการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ระดับความพึงพอใจในงาน ระดับความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในศูนย์สุขภาพชุมชน (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความพึงพอใจในงานกับความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพศูนย์สุขภาพชุมชนจังหวัดหนองคาย ประชากรที่ศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชนจังหวัดหนองคาย 122 คน โดยศึกษาทุกหน่วยประชากร เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ที่มีค่าความเที่ยงของความพึงพอใจในงานเท่ากับ 0.84 และความสามารถในการปฏิบัติงาน เท่ากับ 0.97 ได้แบบสอบถามคืน 113 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 92.63 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และไค-สแคว์ ผลการศึกษาพบว่า (1) ร้อยละ 43.4 ของ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชน มีอายุน้อยกว่า 25 ปี ร้อยละ 58.4 มีสถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 73.5 ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชนในช่วง 2-3 ปี ร้อยละ 69.0 ได้รับการอบรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับศูนย์สุขภาพชุมชน พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจในงานโดยรวมและประเมินตนเองว่ามีความสามารถในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ สถานภาพสมรส ระยะเวลาการปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชน และการได้รับการอบรมเพิ่มเติม ไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในศูนย์สุขภาพชุมชน ส่วนปัจจัยค้ำจุนด้านนโยบายและการบริหาร ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และวิธีการปกครองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.412, 0.336, 0.219 ค่า p-value <0.001, <0.001 และ 0.01 ตามลำดับ) ปัจจัยจูงใจแต่ละด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยบังคับบัญชาและโดยรวมสําคัญทางสถิติ (r = 0.420, p-value <0.001)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1073
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
82152.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons