กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1074
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเว็บไซต์และฐานข้อมูลโบราณวัตถุ : กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้างเชียง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of website and database on antique a case of Ban Chiang National Museum
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สำรวย กมลายุตต์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทัศนีย์วรรณ์ ศรีประดิษฐ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
มะลิวรรณ ระหูภา, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
เว็บไซต์--การออกแบบ
การออกแบบฐานข้อมูล
การพัฒนาเว็บไซต์
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาเว็บไซต์และระบบฐานข้อมูลโบราณวัตถุ ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง เว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นมาใช้เป็นแหล่งสารสนเทศในการ เผยแพร่ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง ส่วนฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้น เป็นระบบที่ผู้ใช้สามารถบันทึก ค้นหาและออกรายงานข้อมูลเกี่ยวกับโบราณวัตถุบ้านเชียง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา การพัฒนาเว็บไซต์ใช้หลักการและวิธีการ ออกแบบและพัฒนาเว็บเพจ ส่วนของระบบฐานข้อมูลโบราณวัตถุนั้น ผู้วิจัยใช้วัฏจักรการพัฒนา ระบบงาน (System Development Life Cycle) โดยเริ่มจากการศึกษาปัญหาและวิเคราะห์ความ ต้องการของผู้ใช้ ปัญหาสําคัญที่พบ คือ เว็บไซต์ที่มีอยู่เดิมยังขาดรายละเอียดที่มีประโยชน์หลาย อย่างและไม่มีการปรับปรุงให้ทันสมัย ส่วนระบบฐานข้อมูลโบราณวัตถุที่ใช้เดิมเป็นระบบมือ ทํา ให้ผู้ใช้ไม่ได้รับความสะดวกในการจัดเก็บ ค้นหาและจัดทํารายงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมจูมลา โปรแกรมภาษาพีเอชพี โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล ผลการวิจัยนี้ ทําให้ได้เว็บไซต์ใช้เป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติบ้านเชียงให้แก่ผู้ที่สนใจทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยเว็บไซต์ได้จด ทะเบียนโดเมนเนม ชื่อ banchiangmuseum สําหรับระบบฐานข้อมูลโบราณวัตถุ พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติบ้านเชียงประกอบด้วยข้อมูลที่เป็นข้อความและภาพโบราณวัตถุที่ผู้ใช้สามารถปรับปรุง เพิ่ม ลบ และค้นหาข้อมูลได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อ เว็บไซต์และระบบฐานข้อมูลโบราณวัตถุพบว่า ในภาพรวมผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อการทํางานของ ระบบที่พัฒนาขึ้นในระดับดี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1074
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (25).pdfเอกสารฉบับเต็ม27.71 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons