กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10822
ชื่อเรื่อง: แบบจำลองศูนย์การเรียนด้วยตนเองกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A model for self-directed learning center in school arts learning area for secondary students in Bangkok Educational Service Area
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วาสนา ทวีกุลทรัพย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมเชาว์ เนตรประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิริวัฒน์ นารีเลิศ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
ศิลปะ--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง--ไทย--กรุงเทพฯ
ศูนย์การเรียน
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นและความต้องการของ ผู้บริหาร ครูและนักเรียนเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์การเรียนด้วยตนเองกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาความคิดเห็น ของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์การเรียนด้วยตนเองกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ และ (3) สร้างแบบจำลองศูนย์การเรียนด้วยตนเองกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ (1) ผู้บริหาร ครูผู้สอนวิชาทัศนศิลป์และนักเรียนโรงเรียน มัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 552 คนและ (2) ผู้เชี่ยวชาญด้าน เทคโนโลยีการศึกษา และด้านศิลปะสาขาทัศนศิลป์ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบจำลองศูนย์การเรียนด้วยตนเองกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ แบบสอบถามความ คิดเห็นและความต้องการของผู้บริหาร ครู/อาจารย์ และนักเรียน แบบสอบถามความคิดเห็นของ ผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินรับรองต้นแบบชิ้นงานจากผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ จากผลการวิจัยพบว่าศูนย์การเรียนด้วยตนเองกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะสาขา ทัศนศิลป์ ประกอบด้วย ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมาย วัตถุประสงค์ นโยบาย พันธกิจ โครงสร้าง การจัดหน่วยงาน โครงสร้างการจัดศูนย์การเรียนย่อย บุคลากร โครงสร้างพื้นฐาน การจัดพื้นที่ ภายในอาคาร เครื่องมือและสิ่งอำนวยความสะดวกและงบประมาณ ศูนย์การเรียนนี้ยังประกอบ ด้วยศูนย์การเรียนย่อย 4 ศูนย์ คือ ศูนย์สารสนเทศทัศนศิลป์ ศูนย์สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ ศูนย์สืบสานงานทัศนศิลป์ไทย และศูนย์เสริมสร้างอาชีพทัศนศิลป์ ศูนย์การเรียนดังกล่าวได้รับ การประเมินและรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒีอยู่ในระดับดี สามารถนำไปใช้ได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10822
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons