กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10830
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาบทเรียนเลิร์นนิ่งออบเจ็คผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 35
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of a learning object lesson via the Internet with the use of inquiry learning approach in the Science Course on the topic of Systems in Human Body for Mathayom Suksa II students in schools under the Secondary Education Service Area Office 35
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศันสนีย์ สังสรรค์อนันต์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรางคณา โตโพธิ์ไทย, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภัทรภร ตาไชยวงค์, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --วิทยานิพนธ์
โปรแกรมสื่อทางการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาบทเรียนเสิร์นนิ่งออบเจ็ค ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนเสิร์นนิ่งออบเจ็คผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์และ (3) ศึกษาความพึ่งพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนเสิร์นนิ่งออบเจ็ค ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน จังหวัดลำพูน จำนวน 34 คน ได้โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) บทเรียนเลิร์นนิ่งออบเจ็คผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ (2) แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนแบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนเลิร์นนิ่งออบเจ็ค ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ สถิติที่ใช้ใ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E,/E, ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัยปรากฏว่า (1) บทเรียนเลิร์นนิ่งออบเจ็ค ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ มีประสิทธิภาพคือ 80.23/79.:20 81.30/80.40และ 80.89/80.20 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2 นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนเสิร์นนิ่งออบเจ็ค ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรี่ยนเสิร์นนิ่งออบเจ็คผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ในระดับมาก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10830
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม43.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons