กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1085
ชื่อเรื่อง: การใช้สารสนเทศของบุคลากรระดับบริหาร : กรณีศึกษาบริษัทไทยซูซูกิมอเตอร์ จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Information use by the management : a case of Thai Suzuki Motor Company Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมสรวง พฤติกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
สาคร บุญดาว, อาจารย์ที่ปรึกษา
ขวัญเรือน พุ่มโพธิ์, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: บริษัทไทยซูซูกิมอเตอร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
ผู้บริหาร
สารสนเทศ--การศึกษาการใช้
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพการใช้สารสนเทศของบุคลากรระดับบริหาร (2) ปัญหาและอุปสรรคในการใช้สารสนเทศของบุคลากรระดับบริหารบริษัทไทยซูซูกิมอเตอร์จำกัด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง ระดับต้นจาก 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายโรงงาน ฝ่ายการเงินและทรัพยากรบุคคล ฝ่ายขายและการตลาด โดยการเลือก แบบเจาะจง จำนวน 145 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารทุกฝ่ายมีการใช้สารสนเทศในระดับปานกลาง (1) วัตถุประสงค์การใช้ สารสนเทศที่ผู้บริหารทุกฝ่าย ทั้งระดับสูง ระดับกลาง และระดับต้นคือ ใช้เพื่อการติดต่อสื่อสารในองค์กร มากที่สุด เนื้อหาสารสนเทศทั้ง 4 ด้าน คือด้านการบริหารงานทั่วไป ด้านงานบุคลากร การเงินและ งบประมาณ ด้านการขายและการตลาด และด้านการผลิต โดยฝ่ายโรงงานใช้เนื้อหาสารสนเทศด้านการ ผลิตมากที่สุด คือ เรื่องรายงานประสิทธิภาพการผลิต และเรื่องแผนการผลิต ฝ่ายการเงินและทรัพยากร บุคคลใช้เนื้อหาสารสนเทศด้านงานบุคลากร การเงิน และงบประมาณ คือ เรื่องสถานภาพของบุคลากร มากที่สุด ส่วนฝ่ายขายและการตลาดใช้เนื้อหาสารสนเทศด้านเดียวกับฝ่ายการเงินและทรัพยากรบุคคล แต่ ใช้เรื่อง รายงานผลกำไรขาดทุนในแต่ละปีมากที่สุด แหล่งสารสนเทศที่ผู้บริหารทุกฝ่ายและทุกระดับใช้ มากที่สุดคือ แหล่งสารสนเทศภายในองค์กรที่เป็นระบบสารสนเทศส่วนกลางในองค์กร รองลงมาคือ แหล่งสารสนเทศที่เป็นระบบสารสนเทศในแผนกต่างๆ และแหล่งสารสนเทศส่วนบุคคลที่เป็น ผู้บังคับบัญชา รูปแบบสารสนเทศที่ใช้มากที่สุด คือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่อสิ่งพิมพ์ ส่วนวิธีการเข้าถึง สารสนเทศที่ใช้คือการสืบค้นสารสนเทศด้วยตนเอง และมีการใช้สารสนเทศจากอินเทอร์เน็ตจากกูเกิล และ เว็บของกลุ่มซูซูกิ (2) ปัญหาการใช้สารสนเทศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาที่พบคือ เรื่อง การจำกัดสิทธิ์ หรือไม่อนุญาต สารสนเทศไม่ใช่ภาษาไทย เนื้อหาไม่สนองความต้องการ รูปแบบสื่อ บันทึกข้อมูลมีข้อจำกัดการอ่านข้อมูล และบางรูปแบบอ่านแล้วเข้าใจยาก ไม่รู้จักแหล่งสารสนเทศ และ สารสนเทศมีน้อยไม่เพียงพอ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1085
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (28).pdfเอกสารฉบับเต็ม16.21 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons