กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1087
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The community leader's potential development in preventing and solving addictive drug problems at Chaiyaphum Municipality area |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นิตยา เพ็ญศิรินภา วัลลภา ชัยนิติกุล, 2504- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สมโภช รติโอฬาร |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ผู้นำชุมชน--ไทย--ชัยภูมิ ยาเสพติด--การป้องกัน |
วันที่เผยแพร่: | 2546 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม โดยวัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้นําชุมชน ได้มาโดยการสุ่มชุมชนเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบแล้วเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ ชุมชนละ 40 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประกอบด้วย การฝึกอบรมด้วยกระบวนการ AIC และการติดตาม นิเทศ สนับสนุนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของผู้นำชุมชน เก็บข้อมูลก่อนทดลอง หลังทดลองทันทีและหลังทดลอง 2 เดือน โดยแบบทดสอบความรู้มีค่าความเพียง 0.80 และแบบสอบถามทัศนคติและการรับรู้บทบาท มีค่าความเที่ยง 0.92 และ 0.90 ตามลำดับ รวมทั้งใช้ แนวทางการสนทนากลุ่มและการสังเกต เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพระหว่างการไปติดตาม นิเทศ สนับสนุน เดือนละ 2 ครั้ง หลังการทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบแบบที และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า (1) หลังการทดลองทันที ผู้นําชุมชนในกลุ่มทดลองมีความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้บทบาทในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในระดับสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติทีระดับ (p-value < .001) (2) หลังการทดลอง 2 เดือน ผู้นำชุมชนในกลุ่มทดลองมีความรู้ ทัศนคติและการรับรู้บทบาทในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในระดับสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (P-value < .001) และพบในระดับสูงขึ้นกว่ากลุ่ม เปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (P-value < .001) และ (3) การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของผู้นำชุมชนในกลุ่มทดลองมีมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1087 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License