กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10884
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการผลิตคริสต์มาสคุณภาพในอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guidelines for the production of quality poinsettia in Phu Rua District, Loei Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภัทรา สกุลบ้านบน, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
คริสต์มาส (พืช)
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--เลย
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตคริสต์มาสของเกษตรกร 3) ปัญหาการผลิตคริสต์มาสของเกษตรกร 4) ความต้องการและแนวทางส่งเสริมการผลิตคริสต์มาสคุณภาพของเกษตรกร อําเภอภูเรือ จังหวัดเลย ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกไม้ดอกไม้ประดับที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเกษตรระบบแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับ ปีงบประมาณ 2559 - 2562 ในพื้นที่อําเภอภูเรือ จังหวัดเลย จํานวน 94 ราย ศึกษาทั้งหมดไม่มีการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ํ่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 79.8 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 50.98 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 2.83 คน ประสบการณ์ในการปลูกคริสต์มาสเฉลี่ย 14.91 ปี จํานวนแรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือน เฉลี่ย 2.35 คน จ้างแรงงานภาคการเกษตรนอกครัวเรือน เฉลี่ย 0.55 คน ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการผลิตคริสต์มาสจากเพื่อนบ้าน ญาติ/บรรพบุรุษและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร รายได้จากการผลิตคริสต์มาสเฉลี่ย 292,000 บาท/ปี 2) ผลิตคริสต์มาสพันธุ์ใบโพธิ์สีแดงมากที่สุด จํานวนการผลิตเฉลี่ย 12,950 ถุง/ปี/ราย ผลผลิต เสียหาย ร้อยละ 19.04 จากแมลงศัตรูพืช และโรคพืช ต้นทุนสําหรับการผลิตคริสต์มาส (100 ต้น) เฉลี่ย 1,303.99 บาท เกษตรกรผลิตคริสต์มาสตามหลักวิชาการยกเว้นนําพันธุ์เนื้อเยื้อมาใช้ 3) ปัญหาในการผลิตคริสต์มาสในด้านปัจจัยการ ผลิตมีราคาสูง แมลงหวี่ขาว โรครากเน่า 4) เกษตรกรต้องการความรู้เกี่ยวกับโรค แมลงศัตรูพืช ผ่านสื่อบุคคล ได้แก่ เกษตรกรผู้นํา เอกชน สื่ออิเล็กทรอนิคส์ จากโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต สื่อสิ่งพิมพ์จากคู่มือวิชาการ แผ่นพับ ด้านวิธีการ คือ การให้คําแนะนํา การฝึกอบรม และเกษตรกรมีความต้องการรับบริการและการสนับสนุนในประเด็นการจัดหาแหล่งปัจจัย การผลิตราคาถูก การสนับสนุน ต้นพันธุ์คุณภาพดี 5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตคริสต์มาส โดยเจ้าหน้าที่ต้องสํารวจ พื้นที่อย่างต่อเนื่อง มีความรู้ในการผลิตคริสต์มาส และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ให้ความรู้แก่เกษตรกรตรงประเด็นกับปัญหา ในด้านการผลิตพันธุ์ การใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืช การป้องกันศัตรูพืช การตลาดและการส่งออก ผ่านช่องทางการส่งเสริมที่เกษตรกรสนใจ คือ โทรทัศน์และคู่มือวิชาการ โดยวิธีการที่เหมาะสม คือ การให้คําแนะนําและเกษตรกรเองต้องหาความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง ยอมรับเทคโนโลยีต่างๆ ทดลองนําไปปฏิบัติและรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อช่วยเหลือสมาชิก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10884
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons