กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10887
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาการบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ระหว่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ของไทย และกฎหมายคุ้มครองเหยื่อการค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Study of enforeement on anti-human trafficking act, B.E. 2551 (2008) of Thailand and Trafficking Victims Protection Act of United States of America |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุพัตรา แผนวิชิต เลิศศักดิ์ บริรักษ์เลิศ, 2536- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี การค้ามนุษย์--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทย การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้องของกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ (2) ศึกษา วิเคราะห์ถึงการบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ระหว่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ของประเทศไทย และกฎหมายคุ้มครองเหยื่อการค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกา และ (3) วิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางแก้ไขกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทยให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสารจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวบทกฎหมายหนังสือบทความเอกสารทางวิชาการ งานวิจัยวิทยานิพนธ์และข้อมูลจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนําไปผลการวิจัยผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายการต่อต้านการค้ามนุษย์ ได้แก่ การช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหายและเหยื่อการค้ามนุษย์ควบคู่กับการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด ภายใต้กลไกการประสานงานและการให้ความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (2) การบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ยังขาดความชัดเจนในแง่ของคำจำกัดความ ไม่มีบทกำหนดโทษที่เหมาะสมกับความรุนแรงของปัญหา การบูรณาการสรรพกำลังและกำหนดบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ชัดเจนทั้งในเชิงป้องปรามและป้องกัน รวมทั้งการสร้างความตระหนักรู้และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และภาคธุรกิจผู้ประกอบการยังไม่เพียงพอ (3) เพื่อสัมฤทธิ์ผลของการบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้พิจารณาจัดตั้งแผนกในศาลยุติธรรมขึ้นมาพิจารณาคดีเกี่ยวกับการค้ามนุษย์โดยเฉพาะ หรือกำหนดมาตรการอื่นที่จะเร่งกระบวนการดำเนินคดีการค้ามนุษย์ เพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปอย่างรวดเร็ว และสามารถลงโทษผู้กระทำผิดได้อย่างเหมาะสม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10887 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.92 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License