กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10892
ชื่อเรื่อง: ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Technological leadership of school administrators as perceived by teachers in schools under Prachuab Khiri Khan Primary Education Service Area Office 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กุลชลี จงเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
รัศมี แสงชุ่ม, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
ภาวะผู้นำทางการศึกษา
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นําเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครูในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 และ (2) เปรียบเทียบระดับภาวะผู้นําเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 จําแนกตามขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ปีการศึกษา 2562 กําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเคร็จและมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 242 คน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะ ผู้นําเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที่ ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ภาวะผู้นําเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลําดับค่าเฉลี่ยจากมาก ไปหาน้อย ได้แก่ การสนับสนุน การบริหารจัดการ และการดําเนินการด้านเทคโนโลยี รองลงมา ได้แก่ การผลิตและ การปฏิบัติทางวิชาชีพในการใช้เทคโนโลยี ความรู้ทางสังคม กฎหมาย จริยธรรมด้านเทคโนโลยีและการปฏิบัติ การเรียนรู้และการเรียนการสอน การใช้เทคโนโลยีในการวัดผลและการประเมินผล และความเป็นผู้นําและ มีวิสัยทัศน์เชิงเทคโนโลยี ตามลําดับ และ (2) การเปรียบเทียบภาวะผู้นําเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตาม การรับรู้ของครูในสถานศึกษาจําแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า ภาวะผู้นําเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดกลางแตกต่างจากผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้บริหาร สถานศึกษาขนาดกลางจะมีภาวะผู้นําเชิงเทคโนโลยีมากกว่าผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กในทุกด้าน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10892
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons