กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10895
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development a Thai reading and writing skills diagnostic test for Prathom Suksa V students under Surin Educational Service Area office 3
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญศรี พรหมมาพันธุ์
รัชสิรินธร์ ศรีจันทร์แจ่ม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ศศิกาญจน์ ทวิสุวรรณ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์
ภาษาไทย--การอ่าน--แบบทดสอบ
ภาษาไทย--การเขียน--แบบทดสอบ
แบบทดสอบวินิจฉัย
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยทักษะการอ่านและ การเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สุรินทร์ เขต 3 และ (2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวินิจฉัยทักษะการอ่านและการเขียน ภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำนวน 809 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบ วินิจฉัยทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความตรง ค่าความเที่ยง ค่าความยาก และค่าอำนาจจำแนก ผลการวิจัย พบว่า (1) แบบทดสอบวินิจฉัยทักษะการอ่านภาษาไทย ประกอบด้วย 9 เรื่อง ได้แก่ การอ่านคำที่มีตัวการันต์ อักษรควบ อักษรนำ การอ่านผันวรรณยุกต์ คำอักษรย่อ เครื่องหมายวรรคตอน การอ่านบทร้อยแก้วและบทร้อยกรอง การอ่านสำนวน โวหารและ การเปรียบเทียบ และการอ่านจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน แบบทดสอบวินิจฉัยทักษะการเขียน ภาษาไทย ประกอบด้วย 4 เรื่อง ได้แก่ การเขียนสะกดคำ การเลือกใช้คำเขียนประโยคและเรื่องราว การเขียนย่อความ และการเขียนเรียงความ และ (2) แบบทดสอบวินิจฉัยทักษะการอ่านภาษาไทย มีความตรงอยู่ระหว่าง .80-1.00 ความยากรายข้ออยู่ระหว่าง .50 -.79 อำนาจจำแนกรายข้ออยู่ ระหว่าง .25 - .63 และความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.804 - 0.949 และแบบทดสอบวินิจฉัยทักษะ การเขียนภาษาไทย มีความตรงอยู่ระหว่าง .80-1.00 ความยากรายข้ออยู่ระหว่าง .50 -.79 อำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .26 - .68 และความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.846 - 0.947
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10895
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons