Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10896
Title: การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อประเมินคำรับรองการปฏิบัติราชการของโรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน
Other Titles: The development of as information system for the evaluation performance approval of Chakkham Khanathon School in Lamphun Province
Authors: สมคิด พรมจุ้ย
วรรณพงค์ ขันติสิทธิ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
กาญจนา วัธนสุนทร
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์
โรงเรียนจักรคำคณาทร--การประเมินผล
สารสนเทศ
การทำงาน--การประเมิน
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อประเมินคำรับรอง การปฏิบัติราชการของโรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน และ (2) ตรวจสอบคุณภาพของระบบ สารสนเทศที่พัฒนาขึ้น วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย (1) การศึกษาและวิเคราะห์ระบบการประเมิน คำรับรองการปฏิบัติราชการของโรงเรียน ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ สภาพปัจจุบัน เกี่ยวกับการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของโรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน โดยการสัมภาษณ์และสอบถามกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง (2) การพัฒนาระบบสารสนเทศบน ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows โดยใช้โปรแกรม Microsoft Visual Studio 2005 และ Access 2003 (3) การตรวจสอบ คุณภาพของระบบสารสนเทศ โดยการสัมภาษณ์ และสอบถามกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบสารสนเทศและการจัดทำคำรับรอง 5 คน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ 2 คน ผู้บริหารโรงเรียน 1 คน รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่ การศึกษา 1 คน หัวหน้างานวิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 1 คน กลุ่มที่ 2 ผู้ให้ข้อมูลแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อระบบสารสนเทศใหม่จำนวน 29 คน ประกอบด้วยฝ่าย บริหารโรงเรียน 5 คน ครูผู้กำกับดูแลตัวชี้วัดจำนวน 8 คน และครูผู้จัดเก็บตัวชี้วัด จำนวน 16 คน โดยแต่ละกลุ่มได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า (1) ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นพร้อมคู่มือการใช้งาน สามารถใช้ ในการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศเพื่อประเมินการปฏิบัติราชการตามมิติและตัวชี้วัดที่ต้องการ ได้ง่าย ถูกต้อง ชัดเจน ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน และ (2) ผลการตรวจสอบคุณภาพของระบบ สารสนเทศใหม่มีความสะดวกต่อการนำเข้าข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการรายงานผลง่าย มี ความยืดหยุ่นในการนำไปประยุกต์ใช้รวดเร็ว แม่นยำ รายงานผลหน้าจอมีเนื้อหาครบถ้วน สามารถ พิมพ์รายงานได้ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบราชการของโรงเรียนใช้เป็นข้อมูลประกอบการ ตัดสินใจของผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องได้
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10896
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.01 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons