กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10903
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแบบประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ของนักเรียนช่วยชั้นที่ 2 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of an evaluation instrument on reading, analytical thinking, and writing skills for second level students in schools under the Office of Tak Educational Service Area 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณ์ดี แสงประทีปทอง
ขวัญใจ ใจอินถา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ทัศนีย์ ชาติไทย
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ภาษาไทย--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--การประเมิน
ภาษาไทย--การเขียน--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
ภาษาไทย--การอ่าน--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
นักเรียนประถมศึกษา--ไทย--ตาก
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแบบประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และ เขียน ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 และ (2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2551 ในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 ได้มาโดยการเลือกแบบหลายขั้นตอน จำนวน 330 คน เครื่องมือที่พัฒนาในการวิจัยเป็นแบบประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ของนักเรียนช่วงชั้น ที่ 2 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 จำนวน 20 ข้อ เป็นข้อสอบแบบ อัตนัย ตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินโดยตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาด้วยวิธีหาค่าดัชนี ความสอดคล้อง ตรวจสอบความยากและอำนาจจำแนกโดยใช้สูตรของวิทนีย์ และซาเบอร์ และ ตรวจสอบความเที่ยงด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) แบบประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนที่สร้างขึ้นเป็น ข้อสอบแบบอัตนัย มีจำนวน 20 ข้อ ประเมินตัวบ่งชี้ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถในการอ่าน จำนวน 9 ข้อ ด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จำนวน 9 ข้อ และด้านความสามารถในการ เขียน จำนวน 2 ข้อ และ (2) แบบประเมินมีความตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง .50 ถึง 1.00 มีความยากระหว่าง .56 ถึง .80 มีอำนาจจำแนกระหว่าง .46 ถึง .84 มีความ เที่ยงด้านความสามารถในการอ่าน เท่ากับ .99 ด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เท่ากับ .99 ด้านความสามารถในการเขียน เท่ากับ .96 และความเที่ยงรวมทั้งฉบับ เท่ากับ .99
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10903
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.77 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons