Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10910
Title: | ดุลพินิจของศาลในการลดโทษ: ศึกษากรณีจำเลยรับสารภาพ ข่มขืนแล้วฆ่า |
Other Titles: | Judicial discretion in commutation: a case study of the defendant's admission in rape and kill |
Authors: | สุพัตรา แผนวิชิต วิภาวดี ครสวรรค์, 2534- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี อาชญากรรมทางเพศ เหตุบรรเทาโทษ การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาถึงแนวคิด ทฤยฎี เกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจของศาลในการลดโทษของจำเลยที่รับสารภาพในคดีข่มขืนแล้วฆ่า (2) ศึกษาถึงแนวทางในการบังคับใช้กฎหมายของไทย เกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจของศาลในการลดโทษของจำเลยที่รับสารภาพในคดีข่มขืนแล้วฆ่า และ (3) ศึกษาถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหากฎหมายของไทยและต่างประเทศ และข้อบกพร่องของกฎ หมายที่เกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจของศาลในการลดโทษของจำเลยที่รับสารภาพในคดีข่มขืนแล้วฆ่า การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารหลักกฎหมาย บทบัญญัติของกฎหมาย คำพิพากษาของศาล บทความวารสารต่าง และเปรียบเทียบกับต่างประเทศ แล้วนำมาพิเคราะห์ในข้อมูลที่ทำการศึกษา แล้วนำมาสู่การแก้ไข ปรับปรุง และนำเสนอเพื่อประยุกต์ใช้ในกระบวนการทางอาญาผลการศึกษา พบว่า (1) ศาลสามารถลดโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษแก่ผู้กระทำความผิดในคดีข่มขืนแล้วฆ่า หากเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพที่เป็นประโยชน์ในการพิจารณาคดีของศาล (2) การลดโทษของจำเลยที่รับสารภาพในคดีข่มขืนแล้วฆ่า เป็นการใช้ดุลพินิจของศาลในแต่ละคดีเป็นเรื่อง ๆไป ไม่อาจนำมาใช้เป็นเกณฑ์ทั่วไปในทุกคดีได้ และยังไม่มีบทบัญญัติใดกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการใช้ดุลพินิจของศาลเพื่อลดโทษแก่จำเลยที่รับสารภาพในคดีข่มขืนแล้วฆ่า (3) ประเทศสหรัฐอเมริกามีคณะกรรมการกำหนดโทษแก่จำเลย โคยการชี้ขาคจากเสียงข้างมาก และมีตารางการกำหนดโทษ เพื่อเป็นแนวทางในการลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างเหมาะสม ส่วนประเทศฝรั่งเศสมีการกำหนดอัตราโทยอย่างสูงเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้พิพากษาสามารถใช้ดุลพินิจได้ตามความเหมาะสมในการลดโทษ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับประเทศไทยเป็นอย่างมากจึงมีข้อเสนอแนะให้ศาลกำหนดบทลงโทษลงไปในแต่ละวิธีของการกระทำความผิดได้ โดยไม่ต้องใช้หลักดุลพินิจของศาลมาประกอบการพิจารณา เพื่อให้การกำหนดบทลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดในคดีข่มขืนแล้วฆ่า เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเกิดความยุติธรรมต่อสังคมโดยรวม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10910 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
166855.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License