กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10911
ชื่อเรื่อง: ชุดฝึกอบรมแบบอิงประสบการณ์เรื่องการทำเทียนพรรษาอุบลราชธานีสำหรับครูเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Experience-based training packages on Making Buddhist Lent Candles of Ubon Ratchathani for teachers in Ubon Ratchathani Educational Service Area 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทิพย์เกษร บุณอำไพร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชัยยงค์ พรหมวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
มนัส สุขสาย, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิรวัฒน์ สว่างวงศ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
การสอน--แบบเรียนสำเร็จรูป
เทียนพรรษา
ครู--การฝึกอบรม.--ไทย--อุบลราชธานี
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดฝึกอบรมแบบอิงประสบการณ์ เรื่อง การทำเทียนพรรษาอุบลราชธานี สำหรับครูเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 ให้มี ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของผู้รับการฝึกอบรมที่เรียน จากชุดฝึกอบรมแบบอิงประสบการณ์ และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของผู้รับการฝึกอบรมที่เรียน จากชุดฝึกอบรมแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรม คือ ครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 จำนวน 39 คน โดยการสุ่มแบบหลาย ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) ชุดฝึกอบรมแบบอิงประสบการณ์ เรื่อง การทำเทียน พรรษาอุบลราชธานี 3 หน่วยประสบการณ์ คือ หน่วยประสบการณ์ที่ 4 การทำเทียนพรรษา ประเภทมัดรวมติดลาย หน่วยประสบการณ์ที่ 5 การทำเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก และ หน่วยประสบการณ์ที่ 6 การทำเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ (2) แบบทดสอบก่อนและหลังการ เผชิญประสบการณ์เป็นแบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้รับการฝึกอบรมที่มี ต่อชุดฝึกอบรมแบบอิงประสบการณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาประสิทธิภาพ ของชุดฝึกอบรมโดยใช้ E,/E, ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดฝึกอบรมแบบอิงประสบการณ์ที่พัฒนาขึ้นทั้ง 3 หน่วย ประสบการณ์มีประสิทธิภาพตามลำดับ ดังนี้ 79.32/80.60,80.00/78.30 และ 80.50/79.70 เป็นไป ตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) ผู้รับการฝึกอบรมที่เรียนจากชุดฝึกอบรมแบบอิงประสบการณ์มี ความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ผู้รับการฝึกอบรม มีความคิดเห็นเกี่ยวกับชุดฝึกอบรมแบบอิงประสบการณ์มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10911
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons