กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10914
ชื่อเรื่อง: | การบังคับโทษปรับโดยการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้ควบคุมผู้ต้องโทษปรับทางอาญา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Enforcement of fines by using by using electronic monitoring to control persons with the offense of criminal confinement |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิกรณ์ รักษ์ปวงชน มนัฎชนก งามละม้าย, 2531- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี นักโทษ--ระบบติดตาม การปล่อยชั่วคราว--ไทย การคุมประพฤติ--ไทย การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี ลักษณะทั่วไปของการลงโทษทางอาญา และการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (2) ศึกษาถึงหลักการและแนวคิดความเป็นมาเกี่ยวกับการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้ในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศอังกฤษ (3) วิเคราะห์ปัญหาการบังคับโทษปรับและการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวรวมทั้งข้อดีและข้อเสียที่เกี่ยวข้อง (4) เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการกำหนดโทษทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา และแนวทางในการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว มาใช้ในการควบคุมตัวผู้ต้องโทษปรับทางอาญาแทนค่าปรับ การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย บทความ ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ความเห็นของนักนิติศาสตร์ รวมทั้งเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนข้อมูลกฎหมาย ทางอินเตอร์เน็ต เพื่อที่จะได้รวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบนำมาใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิด ทฤษฎี ลักษณะทั่วไปของการลงโทษทางอาญา ยังไม่สามารถบังคับโทษปรับทางอาญาได้ตรงตามเจตนารมณ์ตามกฎหมาย หากนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาบังคับใช้กับ ผู้ต้องโทษปรับทางอาญาจะเป็นประโยชน์มากขึ้น (2) แนวคิดในการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้ในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศอังกฤษ ยังพบปัญหาในการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้ความคุม ผู้ต้องโทษปรับ (3) เมื่อวิเคราะห์ปัญหาการบังคับโทษปรับและการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้กับผู้ต้องโทษปรับทางอาญาแล้ว จึงทำการเปรียบเทียบถึงข้อดีและข้อเสียในส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (4) จึงเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการกำหนดโทษทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา และแนวทางในการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้ในการควบคุมตัวผู้ต้องโทษปรับทางอาญาแทนค่าปรับ เพื่อเป็นการให้โอกาสแก่ผู้ต้องโทษปรับ โดยเฉพาะผู้ที่มีฐานะยากจนและไม่มีเงินชำระค่าปรับ ศาลก็สามารถที่จะเลือกใช้มาตรการอื่นมาใช้บังคับแทนได้ โดยการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยในส่วนของการบังคับโทษปรับ เสนอแนะให้แก้ไขในประมวลกฎหมายอาญาตาม มาตรา 30/1 ปัญหาการกำหนดมาตรการในการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้บังคับโทษปรับ เสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุมประพฤติ พ.ศ. 2559 มาตรา 14 ปัญหาการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้กับผู้กระทำความผิด เสนอแนะให้นำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวมาใช้เป็นวิธีเพื่อความปลอดภัย โดยบัญญัติให้ศาลใช้ดุลยพินิจเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยแทนการใช้โทษปรับทางอาญา และควรให้รัฐมีการจัดแนวทางในการสนับสนุนมาตรการดังกล่าว เพื่อให้การนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10914 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
166863.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.35 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License