กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10927
ชื่อเรื่อง: | ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่องทฤษฎีกราฟเบื้องต้นสำหรับคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 1 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Computer-based learning packages via network in the career and technology learning area on the topic of introduction to graph theories for computer for Mathayom Suksa IV students in Lampang Educational Service Area 1 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมพงษ์ แตงตาด ประมุข เจียมจิตร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ปรีชา เนาว์เย็นผล |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน ทฤษฎีกราฟ นักเรียนมัธยมศึกษา--ไทย--ลำปาง การเรียนการสอนผ่านเว็บ |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องทฤษฎีกราฟเบื้องต้นสำหรับคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 1 ให้มีประสิทธิภาพตาม เกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนด้วย คอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องทฤษฎีกราฟ เบื้องต้นสำหรับคอมพิวเตอร์ และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนด้วย คอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องทฤษฎีกราฟ เบื้องต้นสำหรับคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนบุญวาทย์ วิทยาลัย เขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 1 จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย กลุ่มสาระการ เรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องทฤษฎีกราฟเบื้องต้นสำหรับคอมพิวเตอร์ แบบทดสอบ ก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนแบบคู่ขนาน และแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E,/E, ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องทฤษฎีกราฟเบื้องต้นสำหรับคอมพิวเตอร์ มีประสิทธิภาพตาม เกณฑ์ 80/80 โดยทั้ง 3 หน่วย คือ หน่วยที่ 11 หน่วยที่ 12 และหน่วยที่ 13 มีประสิทธิภาพ 81.14/82.00, 79.43/82.14 และ 81.90/82.43 ตามลำดับ (2) นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 และ (3) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อชุดการเรียนผ่านเครือข่ายว่า อยู่ในระดับเห็นด้วยที่จะนำไปใช้ในการสอนเรื่องทฤษฎีกราฟเบื้องต้นสำหรับคอมพิวเตอร์ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10927 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.67 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License