กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10939
ชื่อเรื่อง: | การบริหารหลักสูตรของสถานศึกษา ช่วงชั้นที่ 3-4 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The administration of school-based curriculum of the third and fourth level basic education schools under the Offices of Nonthaburi Educational Service Area |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุทธิวรรณ ตันติรจนวงศ์ สุภาวดี วัชระคุปต์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วรรณ์ดี แสงประทีปทอง |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ หลักสูตร--การบริหาร |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการบริหารหลักสูตรของสถานศึกษา ช่วงชั้นที่ 3 - 4 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน เกี่ยวกับการบริหารหลักสูตรของสถานศึกษา ช่วงชั้นที่ 3-4 สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษาและประสบการณ์ ทำงาน และ (3) ศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับการบริหารหลักสูตรของสถานศึกษา ช่วงชั้นที่ 3-4 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน รวม 400 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่าง แบบง่าย เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 สถิติที่ ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า (1) การบริหารหลักสูตรของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนเกี่ยวกับการบริหารหลักสูตรของสถานศึกษา โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อวิเคราะห์ความคิดเห็นต่อการบริหารหลักสูตรในแต่ละด้าน ก็ พบว่ามีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเตรียมความพร้อม ของสถานศึกษา ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการดำเนินการบริหารหลักสูตร (ใช้หลักสูตร) และด้าน การสรุปผลการดำเนินงานของสถานศึกษา และเมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็น ต่อการบริหารหลักสูตรของ สถานศึกษา ตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านมีความ คิดเห็นไม่แตกต่างกัน และ (3) เกี่ยวกับปัญหา พบว่า ขาดการสำรวจความต้องการและการมีส่วนร่วมของชุมชน การวางแผนยังไม่ชัดเจน บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดการรายงาน ติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และ ขาดหน่วยงานสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตร ส่วนแนวทางแก้ไขคือ ควรจัดตั้งกลุ่มสำรวจความต้องการและให้ ชุมชนมามีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตร ควรจัดประชุม อบรม เพื่อชี้แจงแผน และขั้นตอนในการดำเนินงานที่ ชัดเจน ควรจัดให้มีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่องให้เป็นระบบ และนำข้อสรุปผลการบริหารจัดการไป ปรับปรุงในปีต่อไปโดยทำอย่างต่อเนื่องและจริงจัง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10939 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.53 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License