กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10948
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาตัวชี้วัดการปฏิบัติงานแบบธรรมาภิบาลสำหรับองค์กรนักเรียนโรงเรียนมัธยมป่ากลาง จังหวัดน่าน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of good governance management indicators for student organization of Matthayom Paklang School in Nan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุพักตร์ พิบูลย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
บัณฑิต แท่นพิทักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุทธิพงษ์ สอนธรรม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา --วิทยานิพนธ์
กิจกรรมของนักเรียน
ธรรมรัฐ
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาตัวชี้วัดการปฏิบัติงานแบบธรรมาภิบาลสำหรับองค์กร นักเรียนโรงเรียนมัธยมป่ากลาง จังหวัดน่าน ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และ (2) ประเมิน ประสิทธิผลการพัฒนาตัวชี้วัดการปฏิบัติงานแบบธรรมาภิบาล สำหรับองค์กรนักเรียน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิง ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ประกอบด้วย (1) คณะกรรมการนักเรียนที่เข้าร่วมใน กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม จำนวน 40 คน (2) ครูหัวหน้ากิจกรรมนักเรียนและครูที่ปรึกษา คณะกรรมการองค์การนักเรียน จำนวน 3 คน และ (3) นักเรียนโรงเรียนมัธยมป่ากลาง จำนวน 240 คน เลือกโดยใช้วิธี สุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์เพื่อการสนทนากลุ่ม แบบสอบถามชนิด มาตรประมาณค่า และ แบบสังเกตพฤติกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย ปรากฏว่า (1) ตัวชี้วัดการปฏิบัติงานแบบธรรมาภิบาลสำหรับองค์กรนักเรียนโรงเรียน มัธยมป่ากลาง ที่มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ คือ (1.1) ด้าน การประพฤติปฏิบัติตน จำนวน 13 ตัวชี้วัด (1.2) ด้านการปฏิบัติงานในลักษณะคณะกรรมการ จำนวน 10 ตัวชี้วัด และ (1.3) ด้านการปฏิบัติงานต่อสังคมและชุมชน จำนวน 4 ตัวชี้วัด รวมทั้งสิ้น 27 ตัวชี้วัด และ (2) ผลการพัฒนา ตัวชี้วัดการปฏิบัติงานแบบธรรมาภิบาล สำหรับองค์กรนักเรียนโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วน ร่วม พบว่า (2.1) ได้ตัวชี้วัดที่เหมาะสมสอดคล้องตามหลักการธรรมาภิบาลและงานวิจัยทั่วไป (2.2) กลุ่มผู้ร่วม วิจัยมีพัฒนาการด้านพฤติกรรมธรรมาภิบาลสูงขึ้นภายหลังการนำตัวชี้วัดไปใช้ในการปฏิบัติงาน โดยปรากฏ คะแนนผลการประเมินตนเองเมื่อสิ้นภาคเรียนที่ 2 สูงกว่า ภาคเรียนที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่ง สอดคล้องกับผลการประเมินตามการรับรู้ของครูที่ปรึกษาและครูหัวหน้างานกิจกรรม ที่ประเมินว่า กลุ่มผู้ร่วมวิจัย หรือคณะกรรมการนักเรียนมีพัฒนาการด้านพฤติกรรมธรรมาภิบาลสูงขึ้น ภายหลังการเข้าร่วมวิจัย และ (2.3) ผล การประเมินการปฏิบัติงานของคณะกรรมการนักเรียนตามการรับรู้ของกลุ่มนักเรียนทั่วไป ปรากฏคะแนนการ ปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลอยู่ในระดับมากทั้ง 3 องค์ประกอบ ทุกตัวชี้วัด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10948
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons