กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10955
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการแสดงออกทางเพศที่เหมาะสมของนักเรียนหญิงในโรงเรียนสตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1 จังหวัดอุดรธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting appropriate sexual expression behaviors of female students at girls schools under the office of Udon Thani Educational Service Area 1 in Udon Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิธิพัฒน์ เมฆขจร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ลัดดาวรรณ ณ ระนอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
วัชราลักษณ์ ไคบุตร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว --วิทยานิพนธ์
นักเรียน--พฤติกรรมทางเพศ
โรงเรียนสตรี--นักเรียน--พฤติกรรมทางเพศ
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรม การแสดงออกทางเพศที่เหมาะสมของนักเรียนที่มีปัจจัยจิตลักษณะต่างกัน (2) เพื่อเปรียบเทียบ พฤติกรรมการแสดงออกทางเพศที่เหมาะสมของนักเรียนที่มีปัจจัยสถานการณ์ทางสังคมต่างกัน และ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยชีวสังคม ปัจจัยจิตลักษณะ และปัจจัยสถานการณ์ทางสังคมที่มีผลต่อการ แสดงออกทางเพศที่เหมาะสม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนหญิงในโรงเรียนสตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อุดรธานี เขต 1 จังหวัดอุดรธานี จำนวน 319 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบวัดประเภทมาตรประเมินค่า มีค่าความเที่ยง ตั้งแต่ .75 ถึง .83 สถิติที่ใช้ วิเคราะห์ข้อมูลคือการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มเป็นรายคู่ด้วยวิธีการเชฟเฟ ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) กลุ่มตัวอย่างที่มีตัวแปรจิตลักษณะด้านการเห็นคุณค่าในตนเอง และด้านเจตคติต่อการแสดงออกทางเพศที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการแสดงออกทางเพศที่เหมาะสม ไม่แตกต่างกัน (2) กลุ่มตัวอย่างที่มีสถานการณ์ทางสังคมด้านการอบรมเลี้ยงดูและด้านสัมพันธภาพ กับเพื่อนเพศเดียวกันที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการแสดงออกทางเพศที่เหมาะสมไม่แตกต่างกัน ยกเว้นกลุ่มตัวอย่างที่มีสัมพันธภาพกับเพื่อนต่างเพศที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการแสดงออกทาง เพศที่เหมาะสมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อ พฤติกรรมการแสดงออกทางเพศที่เหมาะสมของนักเรียน คือ เจตคติต่อการแสดง ออกทางเพศ โดยมี ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเป็น 0.144 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนว))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10955
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons