กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10961
ชื่อเรื่อง: | การประเมินประสิทธิผลการให้บริการด้านทดสอบมาตรฐานฝืมือแรงงานของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 2 สุพรรณบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Assessing the effectiveness of national skill standards test service of the Suphanburi Institute for Skill Development |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เฉลิมพงศ์ มีสมนัย เสาวลักษณ์ น้อยอุทัย, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | แรงงานฝีมือ--การฝึกอบรม งานบริการ--การประเมิน แรงงาน--ไทย--สุพรรณบุรี การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินประสิทธิผลการให้บริการด้านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 2 สุพรรณบุรี (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการให้บริการ ด้านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 2 สุพรรณบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการให้บริการด้านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 2 สุพรรณบุรี การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงประเมินโดยการสอบถามความคิดเห็นของบุคคลที่เข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือผู้เข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 2 สุพรรณบุรี ในปีงบประมาณ 2563 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบ ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) ประสิทธิผลการให้บริการการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 2 สุพรรณบุรีในภาพรวมมีประสิทธิผลในระดับมาก ถือว่าผ่านเกณฑ์ประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าประสิทธิผลในด้านปัจจัยนำเข้า ผลผลิตการให้บริการสภาวะแวดล้อมในการให้บริการ และกระบวนการให้บริการมีประสิทธิผลการให้บริการอยู่ในระดับมากทุกด้านตามลำดับ ถือว่าผ่านเกณฑ์ประเมิน (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการให้บริการด้านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 2 สุพรรณบุรี เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มี เพศ อายุ สถานภาพการทำงาน อาชีพ ภูมิลำเนาช่วงระยะเวลาที่มาใช้บริการและจำนวนครั้งในการรับบริการต่างกันมีความคิดเห็นต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็น ไม่ต่างกัน ปัญหาการให้บริการด้านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 2 สุพรรณบุรี คือด้านปัจจัยนำเข้ามีงบประมาณจำกัด และด้านกระบวนการคือวิธีดำเนินงาน/ขั้นตอนการดำเนินงานด้านการให้บริการทดสอบที่ยุ่งยาก และซับซ้อน (3) สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาจำแนกเป็นรายด้าน คือ 1) ด้านสภาวะแวดล้อม ควรประชาสัมพันธ์ข้อมูลการเดินทางเพิ่มมากขึ้น 2) ด้านปัจจัยนำเข้า ควรปรับปรุงพัฒนาเครื่องมืออุปกรณ์ ซึ่งมีอายุการใช้งานนาน ไม่ทันสมัย 3) ด้านกระบวนการ ควรประชาสัมพันธ์วิธีการดำเนินงาน/ขั้นตอนการดำเนินงานในทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง ให้ผู้รับบริการได้รับทราบก่อนที่จะตัดสินใจเข้ารับบริการ 4) ด้านผลการดำเนินงาน ควรปรับปรุงระยะเวลาในการจัดสอบ เนื่องมาจากมีข้อกำหนดการต่อเวลา ทำให้มีระยะเวลารอคอยไม่สามารถเข้าสอบได้ตามเวลาที่กำหนด |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10961 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
167022.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.4 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License