Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10964
Title: การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 1
Other Titles: School-based management of elementary schools in Yala Educational Service Area 1
Authors: นิตยา ภัสสรศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุพิมพ์ ศรีพันธุ์วรสกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อับดุลเลาะ อาแด
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --วิทยานิพนธ์
การศึกษาขั้นพื้นฐาน--การบริหาร
การบริหารการศึกษา
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 1 (2) เปรียบเทียบ การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตามขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการบริหารโรงเรียน ของผู้บริหาร และ (3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างคือ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษายะลา เข็ต 1 จำนวน 86 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็น ฐาน มีค่าความเที่ยง .99 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การ วิเคราะห์ความแปรปรวน และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ทดสอบสมมุติฐานที่ ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า (1) การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับประถมศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 1 ในภาพรวม และทุกมาตรฐานอยู่ในระดับมาก (2) การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่ แตกต่างกันเมื่อจำแนกตามประสบการณ์ในการบริหาร โดยผู้บริหารที่มีประสบการณ์ น้อยกว่า 10 ปี มีคะแนนสูงกว่าผู้มีประสบการณ์ 10-19 ปี และ (3) ปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ได้แก่ ผู้ปกครองและชุมชนยังไม่ตระหนักและเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการบริหาร โรงเรียน ทำให้ผู้ปกครองและชุมชนไม่ค่อยมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน ส่วน ข้อเสนอแนะ ได้แก่การสร้างความตระหนักและจิตสำนึกร่วมกันเพื่อกระตุ้นให้ทุกคนมีความรู้สึก เป็นเจ้าของ ต้องการมีส่วนร่วมมากขึ้น ส่งเสริมสนับสนุน ให้การอบรมเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ ให้แก่คณะกรรมการสถานศึกษาได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนอย่างต่อเนื่อง
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10964
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.11 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons