Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10981
Title: | การนำหลักบริการสาธารณะมาใช้ในคดีปกครอง |
Other Titles: | Introduction of public service principles in administrative cases |
Authors: | สิริพันธ์ พลรบ สิทธิพร สลางสิงห์, 2528- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | วิธีพิจารณาคดีปกครอง--ไทย การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาถึงความหมาย แนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ในการจัดทำบริการสาธารณะ ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ (2) เพื่อศึกษาถึงลักษณะและวิธีการในการจัดทำบริการสาธารณะรวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ (3) เพื่อวิเคราะห์ถึงปัญหาในการนำหลักการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อมาใช้ในคดีปกครองได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม (4) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการนำหลักบริการสาธารณะมาใช้ในคดีปกครอง ได้อย่างเหมาะสมในการศึกษาวิจัยครั้งนี้จะเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาวิจัยเอกสาร (document Research) ตำรากฎหมาย บทความทางวิชาการ และศึกษาบทบัญญัติทางกฎหมายของทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยจะมุ่งเน้นในส่วนของทฤษฎีต่าง ๆ รวมถึงการพิจารณาศึกษาคำพิพากษาของศาลที่เกี่ยวข้อง ทั้งของกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่า (1) ความหมายของคำว่า "บริการสาธารณะ" มีที่มาจากแนวคิดทฤษฎีในทางปกครองซึ่งเป็นการให้ความหมายในลักษณะที่กว้าง เพื่อที่จะสามารถที่จะนำมาปรับใช้ในการตีความ ความหมายของบริการสาธารณะในลักษณะต่างๆเพื่อให้ครอบคลุมกับบริการสาธารณะที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต (2) การจัดทำบริการสาธารณะทั้งในประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศสมีการจัดทำบริการสาธารณะที่คล้ายคลึงกัน คือ ให้ภาครัฐจัดทำเองหรือมอบหมายให้หน่วยงานอื่นของรัฐจัดทำ และการมอบให้เอกชนดำเนินการจัดทำ แต่การจัดทำก็จะวางอยู่บนหลักของการจัดทำบริการสาธารณะที่มีอยู่ 3 หลัก คือ หลักว่าด้วยความเสมอภาค หลักว่าด้วยความต่อเนื่อง และหลักว่าด้วยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง (3) เมื่อพิจารณาถึงขอบเขตภารกิจในการดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะนั้น หากเป็นหน่วยงานของรัฐจะไม่ค่อยมีปัญหาเท่าใดนัก เนื่องจากกฎหมายได้กำหนดเอาไว้โดยชัดเจนอยู่แล้ว แต่หากปัญหาส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในกรณีมอบหมายให้เอกชนดำเนินการ โดยจะต้องพิจารณาถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของคู่สัญญา แล้วถึงจะพิจารณาว่าต้องมีความรับผิดเช่นไร ปัญหาที่ได้เกิดขึ้นเกิดจากการจัดทำบริการสาธารณะหรือไม่คู่สัญญา แล้วถึงจะพิจารณาว่าต้องมีความรับผิดเช่นไร ปัญหาที่ได้เกิดขึ้นเกิดจากการจัดทำบริการสาธารณะหรือไม่ซึ่งต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป หากเกิดจากปัญหาที่เป็นในรูปของสัญญาทางปกครองจึงจะสามารถที่จะนำหลักกฎหมายอันเกี่ยวด้วยบริการสาธารณะมาใช้บังคับกับคู่สัญญาที่เป็นเอกชนนั้นได้ (4)หลักของการจัดทำบริการสาธารณะที่มีอยู่ 3 หลัก ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ซึ่งศาลปกครองครองของไทยได้นำมาใช้ในคดีปกครองที่เป็นสัญญาทางปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะอยู่หลายเรื่อง จึงเห็นว่าควรที่จะต้องนำหลักการดังกล่าวมาใช้เพื่อสร้างคุณภาพในการจัดทำบริการสาธารณะให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดทำบริการสาธารณะ จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีการนำมาศึกษาอย่างเป็นระบบเพื่อให้การจัดทำบริการสาธารณะนั้นมีความถูกต้อง สมบูรณ์ ในการดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อให้บริการแก่ประชาชนโดยส่วนรวม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10981 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
167830.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License