Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10984
Title: | การประเมินโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน "ดาระ" สานสายใยสู่ชุมชน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล |
Other Titles: | An evaluation of the conservation and restoration of "Dara" folk art and culture for building relationship with the community project in Khuan Don District, Satun Province |
Authors: | สมคิด พรมจุ้ย นิสา ชอบกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ทัศนีย์ ชาติไทย |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์ โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน การวิเคราะห์และประเมินโครงการ |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินปัจจัยเบื้องต้น (2) ประเมินกระบวนการ ดำเนินงาน และ (3) ประเมินผลผลิตของโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน "ดาระ" สานสายใยสู่ชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย คณะกรรมการดำเนินกิจกรรม จำนวน 30 คน นักเรียนแกนนำในโครงการ จำนวน 40 คน กลุ่มแม่บ้านอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 30 คน นักเรียนในโรงเรียนเครือข่ายอำเภอควนโดน จำนวน 50 คน ศึกษาจากประชากร ประชาชนในชุมชนอำเภอควนโดน จำนวน 394 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน รวมทั้งหมด 544 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบบันทึกข้อมูล และ แบบทดสอบ สถิติที่ ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ซึ่งประกอบด้วย บุคลากร งบประมาณ สถานที่ เอกสารต่างๆ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรม โดยภาพรวม พบว่า มีความพร้อม และเพียงพออยู่ในระดับมาก (2) ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการประกอบด้วย การวางแผนใน การจัดกิจกรรม การดำเนินการจัดกิจกรรม โดยภาพรวม พบว่า มีการปฏิบัติและมีความเหมาะสมอยู่ใน ระดับมาก การประเมินผลการจัดกิจกรรม โดยภาพรวม พบว่า มีการปฏิบัติและมีความเหมาะสมอยู่ใน ระดับมากที่สุด ในการแก้ไขปรับปรุงการจัดกิจกรรม มีข้อเสนอแนะที่ต้องดำเนินการคือ จัดให้มีการ ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกกลุ่ม (3) ด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า จำนวนผู้เข้าร่วม กิจกรรม มีจำนวน 3,140 คน คิดเป็นร้อยละ 97.40 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน "ดาระ" ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 มีจำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม นักเรียนแกนนำ และกลุ่มแม่บ้าน อสม. สำหรับกลุ่มนักเรียนในโรงเรียนเครือข่ายมีความรู้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ กำหนดไว้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประชาชนในชุมชนอำเภอควนโคนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน "ดาระ" มีจำนวน ร้อยละ 40.36 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และมีการเผยแพร่การปรับประยุกต์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน "คาระ" สู่การออกกำลังกายอยู่ในระดับมาก |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10984 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License