กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10992
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับทักษะในศตวรรษที่ 21 ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationship between academic leadership of school administrators and skills in the 21st century of teachers under the Office of Nakhon Nayok Primary Education Service Area
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เก็จกนก เอื้อวงศ์
จิราภรณ์ วงษ์แตงอ่อน, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ภาวะผู้นำทางการศึกษา
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก (2) ศึกษาระดับทักษะในศตวรรษที่ 21 ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กับทักษะในศตวรรษที่ 21 ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้การเทียบตารางเครซี่ และมอร์แกนได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 293 คน ใช้วิธีสุ่มโดยคำนวณสัดส่วนตามอำเภอที่ตั้งของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่าเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารและทักษะในศตวรรษที่ 21 ของครูมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .89 และ .84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับ ค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการกำกับ ติดตามและประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียน ด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ ด้านการกำหนดภารกิจของโรงเรียน ด้านการนิเทศการสอน และด้านการบริหารหลักสูตรและการสอน (2) ทักษะในศตวรรษที่ 21 ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับ ค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และคิดเชิงสร้างสรรค์ และทักษะชีวิตและการทำงาน และ (3) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับทักษะในศตวรรษที่ 21 ของครูในระดับสูงมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .91
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10992
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168269.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.96 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons