กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1100
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้บริการรักษาพยาบาลนอกเวลาราชการและวันหยุดราชการของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย จังหวัดขอนแก่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Opinions of public health personnel about provision of health care overtime and on holiday at health centers in Khon Kaen province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เยาวภา ปิ่นทุพันธ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อดิศักดิ์ สัตย์ธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษา
สำราญ ประดิษฐสุวรรณ, 2486-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
บริการการพยาบาล
เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย--ไทย--ขอนแก่น
วันที่เผยแพร่: 2547
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยเกี่ยวกับความสามารถพร้อมให้บริการรักษาพยาบาล ปัจจัยสิ่งสนับสนุนบริการ ปัจจัยความต้องการใช้บริการของผู้รับบริการ ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน รวมทั้งความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยในจังหวัดขอนแก่นเกี่ยวกับการให้บริการนอกเวลาราชการและวันหยุดราชการทําการศึกษาเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยจํานวน 247 คน จากสถานีอนามัย 247 แห่งในจังหวัดขอนแก่น ส่งแบบสอบถามถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .80 ทางไปรษณีย์ ให้เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยให้ข้อมูล และได้รับแบบสอบถามกลับคืนคิดเป็นอัตราการตอบกลับเท่ากับร้อยละ 100 ผลการวิจัยพบว่า เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีสถานภาพสมรสคู่ มีบทบาทและหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน มีประสบการณ์การทํางานนานน้อยกว่า 9 ปี และระหว่าง 10-19 ปี เคยได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสามารถพร้อมให้บริการรักษาพยาบาลของตนในระดับค่อนไปทางมาก มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยสิ่งสนับสนุนบริการในระดับค่อนไปทางมาก มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยความต้องการใช้บริการของผู้รับบริการในระดับปานกลาง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการในระดับค่อนไปทางปานกลาง มีความพึงพอใจในการให้บริการนอกเวลาราชการและวันหยุดราชการในระดับปานกลาง พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยเกี่ยวกับปัจจัยสิ่งสนับสนุนบริการกับความพึงพอใจในสิ่งสนับสนุนบริการ และการสนับสนุนของผู้บังคับบัญชา ระหว่างความคิดเห็นของเจ้าหน้าทีสถานีอนามัยเกี่ยวกับปัจจัยความต้องการใช้บริการของผู้รับบริการกับความพึงพอใจในการใช้บริการของผู้รับบริการและความพึงพอใจในความสามารถพร้อมให้บริการ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1100
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
84172.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons